แนวคำตอบกฎหมาย รามคำแหง

 3112

...วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

มาตรา 5 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้

วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองหมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการ ของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใด ๆ ในทางปกครอง ตามพระราชบัญญัตินี้

การพิจารณาทางปกครองหมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของ เจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง

คำสั่งทางปกครองหมายความว่า

(1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การ วินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

กฎหมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติ ท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่ กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า จากนิยามข้างต้นจะเห็นว่าคำสั่งทางปกครอง มีลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ

1) เป็นการกระทําโดยเจ้าหน้าที่

2) เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย

3) เป็นการกระทำที่เกิดผลทางกฎหมาย หรือก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิหรือ หน้าที่

4) เป็นการกระทำที่มุ่งใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

5) เป็นการกระทำที่มีผลภายนอกโดยตรง

มาตรา 16 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีมีเหตุอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำ ให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าที่หรือกรรมการผู้นั้นจะทำการพิจารณาทางปกครอง ในเรื่องนั้นไม่ได้

มาตรา 27 บัญญัติว่า ให้เจ้าหน้าที่แจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง ให้คู่กรณีทราบตามความจำเป็นแก่กรณี

เมื่อมีผู้ยื่นคำขอเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีคำสั่งทางปกครอง ให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ผู้รับคำขอที่จะต้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสาร บรรดาที่มีกฎหมายหรือกฎกำหนดให้ต้องยื่นมาพร้อมกับคำขอ หากคำขอไม่ถูกต้อง ให้เจ้าหน้าที่ ดังกล่าวแนะนำให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเสียให้ถูกต้อง และหากมีเอกสารใดไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบทันทีหรือภายในไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในการแจ้งดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับคำขอและระบุรายการเอกสารที่ไม่ถูกต้องหรือยังไม่ ครบถ้วนให้ผู้ยื่นคำขอทราบพร้อมทั้งบันทึกการแจ้งดังกล่าวไว้ในกระบวนพิจารณาจัดทำคำสั่ง ทางปกครองนั้นด้วย

เมื่อผู้ยื่นคำขอได้แก้ไขคำขอหรือจัดส่งเอกสารตามที่ระบุในการแจ้งตามวรรคสอง ครบถ้วนแล้วเจ้าหน้าที่จะปฏิเสธไม่ดำเนินการตามคำขอเพราะเหตุยังขาดเอกสารอีกมิได้ เว้นแต่ มีความจำเป็นเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือกฎและได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา เหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งตามมาตรา ๒๐ ในกรณีเช่นนั้นให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวดำเนินการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงโดยพลัน หากเห็นว่าเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการทางวินัยต่อไป

ผู้ยื่นคำขอต้องดำเนินการแก้ไขหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมต่อเจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่ เจ้าหน้าที่กำหนดหรือภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่อนุญาตให้ขยายออกไป เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์ที่จะให้ เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำขอต่อไป ในกรณีเช่นนั้นให้เจ้าหน้าที่ส่งเอกสารคืนให้ผู้ยื่นคำขอพร้อมทั้ง แจ้งสิทธิในการอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคำขอทราบ และบันทึกการดำเนินการดังกล่าวไว

มาตรา 30 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง (1) บัญญัติว่า ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดง พยานหลักฐานของตน

ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะ เห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น

(1) เมื่อมีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่าง ร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ

มาตรา 30 บัญญัติว่า ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดง พยานหลักฐานของตน

ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะ เห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น

(1) เมื่อมีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่าง ร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ

(2) เมื่อจะมีผลทำให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกำหนดไว้ในการทำคำสั่งทาง ปกครองต้องล่าช้าออกไป

(3) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคำขอ คำให้การหรือคำแถลง

(4) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทำได้

(5) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง

(6) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ให้โอกาสตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง ต่อประโยชน์สาธารณะ

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตามมาตรา 30 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ในการออกคำสั่งทางปกครองอันอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองนั้นจะต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และต้องให้คู่กรณีมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน เว้นแต่จะเป็นกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคสองและวรรคสาม

มาตรา 37 วรรคหนึ่งและวรรคสาม บัญญัติว่า คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ

(2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง

(3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ

บทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้

(1) เป็นกรณีที่มีผลตรงตามคำขอและไม่กระทบสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น

(2) เหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก

(3) เป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับตามมาตรา 32

(4) เป็นการออกคำสั่งทางปกครองด้วยวาจาหรือเป็นกรณีเร่งด่วน แต่ต้องให้เหตุผล เป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาอันควรหากผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งนั้นร้องขอ

มาตรา 39 บัญญัติว่า การออกคำสั่งทางปกครองเจ้าหน้าที่อาจกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ได้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดข้อจำกัดดุลพินิจเป็นอย่างอื่น

การกำหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกำหนดเงื่อนไขในกรณี ดังต่อไปนี้ ตามความเหมาะสมแก่กรณีด้วย

(1) การกำหนดให้สิทธิหรือภาระหน้าที่เริ่มมีผลหรือสิ้นผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

(2) การกำหนดให้การเริ่มมีผลหรือสิ้นผลของสิทธิหรือภาระหน้าที่ต้องขึ้นอยู่กับ เหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน

(3) ข้อสงวนสิทธิที่จะยกเลิกคำสั่งทางปกครอง

(4) การกำหนดให้ผู้ได้รับประโยชน์ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำหรือต้องมี ภาระหน้าที่หรือยอมรับภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบบางประการ หรือการกำหนดข้อความในการ จัดให้มี เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มข้อกำหนดดังกล่าว

มาตรา 40 บัญญัติว่า คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ให้ระบุกรณีที่อาจ อุทธรณ์หรือโต้แย้ง การยื่นคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้ง ดังกล่าวไว้ด้วย

ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือ การโต้แย้งเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่และ ระยะเวลาดังกล่าวมีระยะเวลาสั้นกว่าหนึ่งปี ให้ขยายเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง

มาตรา 42 วรรคสอง บัญญัติว่า คำสั่งทางปกครองย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดย เงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น

มาตรา 44 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว

คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย

การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมาตรา 63/2 วรรคหนึ่ง

มาตรา 48 บัญญัติว่า คำสั่งทางปกครองของบรรดาคณะกรรมการต่าง ๆ ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายหรือไม่ ให้คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท สิทธิการอุทธรณ์และกำหนดเวลาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา

มาตรา 53 วรรคสอง (4) (5) บัญญัติว่า คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครองอาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอน หรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดได้เฉพาะเมื่อมีกรณีดังต่อไปนี้

(4) บทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีบทกฎหมายเช่นนี้ในขณะทำคำสั่งทาง ปกครองแล้วเจ้าหน้าที่คงจะไม่ทำคำสั่งทางปกครองนั้น แต่การเพิกถอนในกรณีนี้ให้กระทำได้เท่าที่ ผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือยังไม่ได้รับประโยชน์ตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว และหาก ไม่เพิกถอนจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้

(5) อาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะหรือต่อประชาชน อันจำเป็นต้องป้องกันหรือขจัดเหตุดังกล่าว

มาตรา 54 บัญญัติว่า เมื่อคู่กรณีมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์ตามส่วนที่ 5 ได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลง ไปในสาระสำคัญ

(2) คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองหรือได้เข้ามา ในกระบวนการพิจารณาครั้งก่อนแล้วแต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วมในกระบวนการ พิจารณาทางปกครอง

(3) เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจที่จะทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น

(4) ถ้าคำสั่งทางปกครองได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมา ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่คู่กรณี

การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง (1) (2) หรือ (3) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคู่กรณีไม่อาจทราบถึงเหตุนั้นในการพิจารณาครั้งที่แล้วมาก่อนโดยไม่ใช่ความผิดของผู้นั้น

การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ต้องกระทำภายในเก้าสิบวันนับแต่ผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุ ซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้

...ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 36 ข. บัญญัติว่า ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

ข. ลักษณะต้องห้าม

(1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

(6) เป็นบุคคลล้มละลาย

(7) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(8) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

มาตรา 54 บัญญัติว่า ผู้สมัครสอบแข่งขันในตำแหน่งใด ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือได้รับการยกเว้นในกรณีที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 และต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตำแหน่งหรือได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา 62 ด้วย

สำหรับผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 ข. (1) ให้มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันได้ แต่จะมีสิทธิได้รับบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สอบแข่งขันได้ต่อเมื่อพ้นจากการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว

มาตรา 59 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติว่า ผู้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตามที่กําหนดในกฎ ก.พ. ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กําหนด ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุ ตามมาตรา 57 สั่งให้ผู้นั้นรับราชการต่อไป ถ้าผู้นั้นมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ต่ำกว่ามาตรฐานที่กําหนด ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกําหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วหรือไม่ก็ตาม

ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้นั้นไมเคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ แต่ทั้งนี้ไมกระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือการรับเงินเดือนหรือผลประโยชนอื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการในระหว่างผู้นั้นอยู่ระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ

มาตรา 62 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่ ก.พ. กําหนดให้ปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิใดเป็นคุณสมบัติเฉพาะ สําหรับตําแหน่ง ให้หมายถึงปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิที่ ก.พ. รับรอง

มาตรา 67 บัญญัติว่า ผู้ได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งใดตามมาตรา 53 วรรคหนึ่ง มาตรา 55 มาตรา 56 มาตรา 63 มาตรา 64 และมาตรา 65 หากภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไปหรือมีลักษณะต้องห้ามโดยไม่ได้ รับการยกเว้น ตามมาตรา 36 หรือขาดคุณสมบัติเฉพาะสําหรับตําแหน่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุมัติจาก ก.พ. ตามมาตรา 62 อยู่ก่อนก็ดี มีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้นก็ดี ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งให้ ผู้นั้นออกจากราชการ โดยพลัน แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอํานาจและหน้าที่ และการรับเงินเดือนหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับจากทางราชการก่อนมีคําสั่งให้ออกนั้น และถ้าการเข้ารับราชการเป็นไปโดยสุจริตแล้วให้ถือว่าเป็นการสั่งให้ออกเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญข้าราชการ

มาตรา 85 (6) บัญญัติว่า การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

(6) กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

มาตรา 93 บัญญัติว่า ในกรณีที่ผลการสืบสวนหรือพิจารณาตามมาตรา 91 ปรากฏว่ากรณีมีมูลอันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ในการสอบสวนต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบพร้อมทั้งรับฟังคำชี้แจงของผู้ถูกกล่าวหา เมื่อคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จ ให้รายงานผลการสอบสวนและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57

ถ้าผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 เห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้สั่งยุติเรื่อง แต่ถ้าเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ให้ดำเนินการต่อไปตามมาตรา 96 หรือมาตรา 97 แล้วแต่กรณี

มาตรา 97 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 93 วรรคหนึ่งหรือผู้มีอำนาจตามมาตรา 94 เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. จังหวัด อ.ก.พ. กรมหรือ อ.ก.พ. กระทรวงซึ่งผู้ถูกกล่าวหาสังกัดอยู่แล้วแต่กรณีพิจารณาเมื่อ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติเป็นประการใดให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้นทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ.

ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ไม่ใช้อำนาจตามมาตรา 93 วรรคหนึ่งมาตรา 94 หรือมาตรานี้ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา 57 ระดับเหนือขึ้นไอขึ้นไปมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา 93 วรรคหนึ่งมาตรา 94 หรือมาตรานี้ได้

ผู้ใดถูกลงโทษปลดออกให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ

มาตรา 110 บัญญัติว่า ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอํานาจสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญ ข้าราชการได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(3) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 36 ก. (1) หรือ (3) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 36 ข. (1) (3) (6) หรือ (7)

(8) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ในความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษหรือต้องรับโทษจําคุกโดยคําสั่งของศาล ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก

                มาตรา 114 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ ตามมาตรา 110 (1) (3) (5) (6) (7) และ (8) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคําสั่ง

                มาตรา 122 บัญญัติว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติหรือ ไมปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา และเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ตามหมวด 9 การอุทธรณ์ได้ ผู้นั้นมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในหมวดนี้

                มาตรา 123 บัญญัติว่า การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปตามลําดับ

...จัดตังศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง .. 2542

มาตรา 3 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้

"หน่วยงานทางปกครอง" หมายความว่า กระทรวง ทบวงกรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือให้ดำเนินกิจการทางปกครอง

"กฎ" หมายความว่า พระราชกฤษฎีกากฎกระทรวง ประกาศกระทรวงข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับ เป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่ กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

"สัญญาทางปกครอง" หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐและมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่อง

(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎคำสั่งหรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือ วิธีการอันเป็นสาระสำคัญ ที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริตหรือมีลกัษณะเป็นการ เลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ

(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎคำสั่งปกครอง หรือคำสั่งอื้น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

(4) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

มาตรา 42 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลียงได้ อันเนืองจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองหรือกรณีอื่นใดที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา 9และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือนร้อนหรือความเสียหายหรือยุติข้อโต้แย้งนั้น ต้องมีคำบังคับตามที่กำหนดในมาตรา 72 ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

มาตรา 42 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้นหรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควร หรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด 

มาตรา 49 บัญญัติว่า การฟ้องคดีปกครองจะต้องยื่นฟ้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าไม่มีเหตุผล แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีบทกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 51 บัญญัติว่า การฟ้องคดีตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) หรือ (4) ให้ยื่นฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี

มาตรา 66 บัญญัติว่า ในกรณีทีศาลปกครองเห็นสมควรกำหนดมาตรการหรือวิธีการใด ๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่คู่กรณีที่เกี่ยวข้องเป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดี ไม่ว่าจะมีคำร้องขอจากบุคคลดังกล่าวหรือไม่ ให้ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวและออกคำสั่งไปยังหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติได้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด

การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐและปัญหาอุปสรรค์ที่อาจเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐ ประกอบด้วย

มาตรา 72 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับอย่างหนึ่งอย่าง ใดดังต่อไปนี้

(1) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งหรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีทีมีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1)

(3) สั่งให้ใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ โดยจะกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ ไว้ด้วยก็ได้ในกรณีทีมีการฟ้องเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการฟ้องเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

...สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537

มาตรา 58/1 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ด้วย

(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง

(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา

มาตรา 64 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสอง บัญญัติว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล พ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 58/1

เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ใดสิ้นสุดลงตาม (4) หรือ (5) หรือเมื่อได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าความเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ใดสิ้นสุดลง ตาม (4) ให้นายอำเภอสอบสวนให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีข้อสงสัยหรือได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี และดำเนินการวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายอำเภอสอบสวนแล้วเสร็จหรือวันที่ได้รับผลการสอบสวนจากคณะกรรมการสอบสวน แม้ว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด เว้นแต่เพราะเหตุตาย หรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้วเกินสองปี ในกรณีที่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนและไม่สามารถดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวนายอำเภออาจขยายเวลาการสอบสวนออกไปได้อีกไม่เกินสามสิบวัน ทั้งนี้ การดำเนินการสอบสวนและวินิจฉัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 67 (1) บัญญัติว่า ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้

(1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางนําและทางบก

มาตรา 92 บัญญัติว่า เมื่อผลการสอบสวนตามมาตรา 90/1 ปรากฏว่า ผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดตามที่ถูกสอบสวน ให้นายอำเภอรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาและสั่งให้ผู้ถูกสอบสวนพ้นจากตำแหน่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน ไม่ว่าผู้นั้นจะได้พ้นจากตำแหน่งไปก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่เพราะเหตุตาย หรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้วเกินสองปีโดยในคำสั่งดังกล่าวให้ระบุเหตุที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งไว้ และให้มีผลตั้งแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่ง แต่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานและการรับค่าตอบแทนที่ได้กระทำไปก่อนวันที่มีคำสั่งนั้น ถ้าในขณะที่มีคำสั่งดังกล่าวผู้นั้นกำลังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นอันเป็นผลจากการเลือกตั้งต่างวาระหรือต่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกัน ให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งที่กำลังดำรงอยู่ด้วย และให้ถือว่าวันที่สั่งให้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาต้องห้ามการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นที่สุด

ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นควรให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมจากรายงานตามวรรคหนึ่ง จะสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนทําการสอบสวนเพิ่มเติมก่อนสั่งการก็ได้ ซึ่งคณะกรรมการสอบสวนต้องดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติมและผู้ว่าราชการจังหวัดต้องสั่งการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายงานการสอบสวนเพิ่มเติมนั้น

...เทศบาล พ.ศ.2496

มาตรา 60 (1) บัญญัติว่า เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อบทกฎหมายในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 73 บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่า นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาล ปฏิบัติการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน ละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือมีความประพฤติในทางจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง หรือแก่เทศบาล หรือแก่ราชการ ให้เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพร้อมด้วยหลักฐาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่งก็ได้ คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด

2103

1          มาตรา 420 บัญญัติว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ความรับผิดเพื่อละเมิดตามมาตรา 420 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 4 ประการดังนี้

 1. ผู้ใดกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ

2. ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย

3. ทำให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด

4. ผลที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับการกระทำ คือ ความเสียหายนั้นถือเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิด

การจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายนั้น จะเป็นละเมิดตามมาตรา 420 ก็ต่อเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สิทธิของบุคคลอื่น หากไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นย่อมไม่เป็นละเมิด ซึ่ง ความเสียหายในที่นี้ อาจเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ถือว่าบุคคลนั้นกระทำละเมิด จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

มาตรา 421 บัญญัติว่า การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 432 บัญญัติว่า ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้นคนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย

อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำละเมิดร่วมกันด้วย

ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น

            มาตรา 449 บัญญัติว่า บุคคลใดเมื่อกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายก็ดีกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หากก่อให้เกิดเสียหายแก่ผู้อื่นไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่

ผู้ต้องเสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือจากบุคคลผู้ให้คำสั่งโดยละเมิดนั้นก็ได้

มาตรา 433 บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์หรือตามพฤติการณ์อย่างอื่นหรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น

อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้นจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้น ๆ ก็ได้

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ความรับผิดเพื่อละเมิดในความเสียหายอันเกิดจากสัตว์ตามมาตรา 433 มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. ต้องมีความเสียหายเกิดขึ้น

2. เป็นความเสียหายอันเกิดจากสัตว์

หลักสำคัญของมาตรานี้ คือ ความเสียหายนั้นต้องเป็นความเสียหายอันเกิดจากสัตว์ คือ สัตว์ทำให้เกิดความเสียหายเอง ซึ่งคำว่า สัตว์ในที่นี้ หมายถึง สัตว์ทุกชนิด ทุกประเภทที่สำคัญคือ ต้องเป็นสัตว์ที่มีเจ้าของเพราะมาตรา 433 กำหนดว่า เจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่สัตว์นั้น

มาตรา 443 บัญญัติว่า ในกรณีทำให้เขาถึงตายนั้นค่าสินไหมทดแทนได้แก่ ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆ อีกด้วย
                ถ้ามิได้ตายในทันที ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย
                ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้นทำให้บุคคลหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฏหมายไปด้วยไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตามมาตรา 443 วรรคหนึ่ง ผู้มีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากผู้ที่มากระทำละเมิด ได้แก่ ทายาทของผู้ตายซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา 1629 โดยกรณีของบุตรบุญธรรมนั้น มีสิทธิ รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมตามนัย มาตรา 1627 แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมเจ้ามรดก ดังนั้น จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรคหนึ่ง

มาตรา 449 บัญญัติว่า บุคคลใดเมื่อกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายก็ดีกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หากก่อให้เกิดเสียหายแก่ผู้อื่นไซร้ท่านว่าบุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่

ผู้ต้องเสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือจากบุคคลผู้ให้คำสั่งโดยละเมิดนั้นก็ได้

การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 449 มีหลักเกณฑ์ดังนี้

3.1 ต้องเป็นการป้องกันสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่น

3.2 ภยันตรายนั้นเป็นภยันตรายอันเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย

3.3 เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง

3.4 ผู้กระทำการป้องกันจะต้องกระทำพอสมควรแก่เหตุ

การได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรานี้ หมายถึง กรณีที่บุคคลใดได้กระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น บุคคลนั้นก็ไม่ต้องรับผิดในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งอาจเทียบได้กับการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 นั่นเอง

มาตรา 428 บัญญัติว่า ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง

 2              มาตรา 425 บัญญัติว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น

                มาตรา 446 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินด้วยอีกก็ได้ สิทธิเรียกร้องอันนี้ไม่โอนกันได้ และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว

                มาตรา 452 บัญญัติว่า ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตว์ของผู้อื่นอันเข้ามาทำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์นั้นและยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้และถ้าเป็นการจำเป็นโดยพฤติการณ์แม้จะฆ่าสัตว์นั้นเสียก็ชอบที่จะทำได้

แต่ว่าผู้นั้นต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของสัตว์โดยไม่ชักช้า ถ้าและหาตัวเจ้าของสัตว์ไม่พบผู้ที่จับสัตว์ไว้ต้องจัดการตามสมควรเพื่อสืบหาตัวเจ้าของ

มาตรา 428 บัญญัติว่า ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง

มาตรา 445 บัญญัติว่า ในกรณีทำให้เขาถึงตายหรือให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดีในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ถ้าผู้ต้องเสียหาย มีความผูกพันตามกฎหมายจะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่บุคคล ภายนอกในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอกนั้นไซร้ ท่านว่าบุคคลผู้จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อที่เขาต้องขาดแรงงานอันนั้นไปด้วย

มาตรา 446 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินด้วยอีกก็ได้ สิทธิเรียกร้องอันนี้ไม่โอนกันได้และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่ สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว

มาตรา 429 บัญญัติว่า บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้ อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล ซึ่งทำอยู่นั้น

มาตรา 430 บัญญัติว่า ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร

2. ความรับผิดเพื่อละเมิดของบิดามารดาในการทําละเมิดของผู้เยาว์ตามมาตรา 429 มีหลักเกณฑ์ดังนี้

2.1 ต้องเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย

2.2 มีหน้าที่ดูแลผู้เยาว์ในขณะที่ผู้เยาว์ทำละเมิด

2.3 บิดามารดาซึ่งมีหน้าที่ดูแลนั้นไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่การดูแล

3. ความรับผิดเพื่อละเมิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือผู้รับดูแลผู้ไร้ความสามารถตามมาตรา 430 มีหลักเกณฑ์ดังนี้

3.1 ผู้ไร้ความสามารถกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น

3.2 ผู้ไร้ความสามารถกระทำละเมิดขณะ อยู่ในความดูแลของครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์หรือชั่วครั้งคราว

3.3 บุคคลผู้ดูแลผู้ไร้ความสามารถไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการดูแลผู้ไร้ความสามารถ

มาตรา 1627 บัญญัติว่า บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 1649 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวน มากที่สุดเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคล ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตามมาตรา 443 วรรคหนึ่ง ผู้มีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากผู้ที่มากระทำละเมิด ได้แก่ ทายาทของผู้ตายซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 โดยกรณีของบุตรนอกกฎหมายนั้น หากบิดาได้มีการรับรองโดยพฤติการณ์ตามมาตรา 1627 ย่อมจะส่งผลให้บุตรมีสถานะเป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดก และมีสิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพได้ อนึ่ง พฤติการณ์ที่บิดาได้รับรองบุตรตามมาตรา 1627 เช่น บิดาได้อุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย ยินยอมให้ใช้นามสกุล หรือส่งเสียให้ได้เรียนหนังสือ โดยจะเข้ากรณีหนึ่งกรณีใดก็ได้ ถือว่าเป็นการรับรองบุตรโดยพฤติการณ์ทั้งสิ้น

และตามมาตรา 443 วรรคสาม ผู้ที่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะ จะต้องเป็นบุคคลซึ่งผู้ตายมีหน้าที่ต้องอุปการะตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ สามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในกรณีของบุตรนั้นจะต้องเป็นบุตรผู้เยาว์หรือบุตรที่ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้เท่านั้น

3              มาตรา 437 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บุคคลใดครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะ อย่างใดๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเอง

                มาตรา 434 บัญญัติว่า ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเหตุที่โรงเรือนหรือ สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นก่อสร้างไว้ชำรุดบกพร่องก็ดีหรือบำรุงรักษาไม่ เพียงพอก็ดีท่านว่าผู้ครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ จำต้องใช้ ค่าสินไหมทดแทนแต่ถ้าผู้ครองได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เพื่อปัดป้องมิให้เกิดเสียหายฉะนั้นแล้ว ท่านว่าผู้เป็นเจ้าของจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน

บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนั้นให้ใช้บังคับได้ตลอดถึงความ บกพร่องในการปลูกหรือค้ำจุนต้นไม้หรือกอไผ่ด้วย

ในกรณีที่กล่าวมาในสองวรรคข้างต้นนั้น ถ้ายังมีผู้อื่นอีกที่ต้องรับผิดชอบในการก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วยไซร้ ท่านว่าผู้ครองหรือเจ้าของจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้นั้นก็ได้

มาตรา 450 บัญญัติว่า ถ้าบุคคลทำบุบสลายหรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อจะบำบัดปัดป้องภยันตรายซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน ท่านว่าไม่จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหากความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุภยันตราย

ถ้าบุคคลทำบุบสลายหรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อจะบำบัดปัดป้องภยันตรายอันมีแก่เอกชนโดยฉุกเฉินผู้นั้นจะต้องใช้คืนทรัพย์นั้น

ถ้าบุคคลทำบุบสลายหรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อจะป้องกันสิทธิของตนหรือของบุคคลภายนอกจากภยันตรายอันมีมาโดยฉุกเฉินเพราะตัวทรัพย์นั้นเองเป็นเหตุบุคคลเช่นว่านี้หาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ หากว่าความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุแต่ถ้าภยันตรายนั้นเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลนั้นเองแล้ว ท่านว่าจำต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้

มาตรา 423 บัญญัติว่า ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดีหรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้นแม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริงแต่หากควรจะรู้ได้

ผู้ใดส่งข่าวสาส์นอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสาส์นนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสาส์นเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ความรับผิดเพื่อละเมิดตามมาตรา 420 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 4 ประการดังนี้

 1. ผู้ใดกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ

2. ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย

3. ทำให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด

4. ผลที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับการกระทำ คือ ความเสียหายนั้นถือเป็นผลโดยตรงจากการทําละเมิด

การจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายนั้น จะเป็นละเมิดตามมาตรา 420 ก็ต่อเมื่อมีความเสียหาย เกิดขึ้นแก่สิทธิของบุคคลอื่น หากไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นย่อมไม่เป็นละเมิด ซึ่ง ความเสียหายในที่นี้ อาจเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ถือว่าบุคคลนั้นกระทำละเมิด จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

และมาตรา 423 บัญญัติหลักเกณฑ์ความรับผิดเพื่อละเมิดโดยการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายไว้ดังนี้

1. ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย

2. ข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง

3. มีความเสียหายต่อชื่อเสียงเกียรติคุณทางทำมา หาได้หรือทางเจริญของบุคคลอื่น

4. ผลที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับการกระทำ

การจะเป็นละเมิดตามมาตรา 423 ต้องมีลักษณะแห่งการกระทำคือ การกล่าวหรือ ไขข่าวในลักษณะที่แพร่หลาย คือต้องมีการกระทำต่อบุคคลที่สาม และข้อความในการกล่าวหรือไขข่าวนั้นต้องเป็น ข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงคือต้องเป็นการกล่าวหรือไขข่าวในข้อความที่ไม่เป็นความจริง และต้องมีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งผู้ฟังเข้าใจได้ว่าหมายถึงตัวผู้เสียหาย ถ้าเป็นเพียงคำด่า เช่นคำว่า ไอ้ชาติหมา” “ ไอ้สัตว์เดรัจฉาน ถือว่าไม่มีข้อเท็จจริงอยู่ด้วย ย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้

มาตรา 1598/28 บัญญัติว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตร ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา ในกรณีเช่นนี้ ให้บิดามารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
                ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 2 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับ โดยอนุโลม

มาตรา 429 บัญญัติว่า บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น

 4              มาตรา 443 บัญญัติว่า ในกรณีทำให้เขาถึงตายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆ อีกด้วย

ถ้ามิได้ตายในทันที ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาลรวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานนั้นด้วย

ถ้าว่าเหตุที่ตายลงนั้น ทำให้บุคคลหนึ่งคนใดต้องขาดไร้อุปการะตามกฏหมายไปด้วยไซร้ ท่านว่าบุคคลคนนั้นชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า บุคคลที่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะตามมาตรา 443 วรรคสาม จะต้องเป็นผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้

1. สามีและภริยา

2. บิดามารดาและบุตร

กล่าวคือ ตามกฎหมายครอบครัวได้บัญญัติให้สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน (ตามมาตรา 1461) ดังนั้น ถ้าสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกทำละเมิดถึงตายอีกฝ่ายหนึ่งย่อมขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงมีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้ทำละเมิดได้ หรือกฎหมายบัญญัติให้บุตรต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ตามมาตรา 1563) ดังนั้น ถ้าบุตรถูกทำละเมิดถึงตาย บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและมารดาก็มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากผู้ทำละเมิดได้

มาตรา 444 บัญญัติว่า ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้นผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้ชดใช้ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไปและค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันนั้นและในเวลาอนาคตด้วย
                ถ้าในเวลาที่พิพากษาคดีเป็นพ้นวิสัยจะหยั่งรู้ได้แน่ว่าความเสียหายนั้นได้มีแท้จริงเพียงใด ศาลจะกล่าวในคำพิพากษาว่ายัง สงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษานั้นอีกภายในระยะเวลาไม่เกินสองปีก็ได้

มาตรา 446 บัญญัติว่า ในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินด้วยอีกก็ได้ สิทธิเรียกร้องอันนี้ไม่โอนกันได้และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่ สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว
                อนึ่ง หญิงที่ต้องเสียหายเพราะผู้ใดทำผิดอาญาเป็นทุรศีลธรรมแก่ตนก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องทำนองเดียวกันนี้

มาตรา 432 บัญญัติว่า ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิด ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้นคนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดเสียหายนั้นด้วย

อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิด ท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำละเมิดร่วมกันด้วย

ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น

 มาตรา 452 บัญญัติว่า ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์ชอบที่จะจับสัตว์ของผู้อื่นอันเข้ามาทำความเสียหายในอสังหาริมทรัพย์นั้นและยึดไว้เป็นประกันค่าสินไหมทดแทนอันจะพึงต้องใช้แก่ตนได้และถ้าเป็นการจำเป็นโดยพฤติการณ์แม้จะฆ่าสัตว์นั้นเสียก็ชอบที่จะทำได้

แต่ว่าผู้นั้นต้องบอกกล่าวแก่เจ้าของสัตว์โดยไม่ชักช้า ถ้าและหาตัวเจ้าของสัตว์ไม่พบผู้ที่จับสัตว์ไว้ต้องจัดการตามสมควรเพื่อสืบหาตัวเจ้าของ

มาตรา 1627 บัญญัติว่า  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

มาตรา 438 บัญญัติว่า ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
                อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้นรวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตามมาตรา 438 วรรคสอง ค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงใช้ให้แก่ผู้เสียนั้น มี 3 กรณี ได้แก่

1.       การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไป

2.       การใช้ราคาทรัพย์สินนั้น

3.       การชดใช้ค่าเสียหาย

ในการเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายนั้น จะต้องเป็นค่าเสียหายอันพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้น กล่าวคือ จะต้องเป็นค่าเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการละเมิด และต้องเป็นค่าเสียหายที่ไม่ไกลกว่าเหตุ

มาตรา 1629 บัญญัติว่า  ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรคสอง แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา

คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635

 มาตรา 1649 บัญญัติว่า ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะจัดการทำศพของผู้ตาย เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการดังว่านั้น

วรรคสอง ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิโดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น

มาตรา 449 บัญญัติว่า บุคคลใดเมื่อกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายก็ดี กระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หากก่อให้เกิดเสียหายแก่ผู้อื่นไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
        ผู้ต้องเสียหายอาจเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือจากบุคคลผู้ให้คำสั่งโดยละเมิดนั้นก็ได้

 3103

1          มาตรา 1437 บัญญัติว่า การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น

เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง

สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส

ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๔๑๒ ถึงมาตรา ๔๑๘ แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

   ตามมาตรา 1437 วรรคหนึ่ง กฎหมายได้กำหนดแบบเพื่อความสมบูรณ์ของการหมั้นไว้ โดยกำหนดให้การหมั้นจะต้องมีการส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น ถ้ามิได้ทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ย่อมถือว่าการหมั้นนั้นไม่สมบูรณ์

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตามมาตรา 1437 วรรคหนึ่ง การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อมีการส่งมอบของหมั้นให้แก่กัน ซึ่งจะต้องเป็นการมอบให้แก่กันอย่างแท้จริงด้วย ถ้าเพียงแต่สัญญาว่าจะมอบทรัพย์สินให้ในอนาคต หรือเพียงแต่ทำสัญญากู้ให้ไว้ ถือไม่ได้ว่ามีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย จึงเป็นการหมั้นที่ไม่สมบูรณ์

มาตรา 1439 บัญญัติว่า เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา หมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย

            มาตรา 1435 บัญญัติว่า การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว

การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ

มาตรา 1436 บัญญัติว่า ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคล ดังต่อไปนี้
(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา
(2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจ ปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดย พฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
(4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (1)(2) และ (3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง

การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ

มาตรา 1439 บัญญัติว่า เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา หมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า การที่ชายจะทำการหมั้นหญิงนั้น กฎหมายกำหนดอายุของคู่หมั้นไว้ว่าชายและหญิงต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 1435 วรรคหนึ่ง และกรณีที่ผู้เยาว์จะทำการหมั้น ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาด้วย ตามมาตรา 1436 การหมั้นจึงจะสมบูรณ์

มาตรา 1440 บัญญัติว่า ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่อง ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส

ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึง ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้

มาตรา 1438 บัญญัติว่า การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ถ้าได้มีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้นข้อตกลงนั้น เป็นโมฆะ

มาตรา 1443 บัญญัติว่า  ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นทำให้หญิงไม่สมควรสมรสกับชายนั้น หญิงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของ หมั้นแก่ชาย

            มาตรา 1444 บัญญัติว่า ถ้าเหตุอันทำให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้นเป็นเพราะ การกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งได้กระทำภายหลัง การหมั้นคู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้น ต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน แก่คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิ บอกเลิกสัญญาหมั้นเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น

มาตรา 1445 บัญญัติว่า ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้น ของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น เมื่อได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแล้วตาม มาตรา 1442 หรือ มาตรา 1443 แล้วแต่กรณี

มาตรา 1442 บัญญัติว่า ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้น ชายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และให้หญิงคืนของ หมั้นแก่ชาย

 2          มาตรา 1448 บัญญัติว่า การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรส ก่อนนั้นได้

มาตรา 1458 บัญญัติว่า การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามี ภริยากัน และต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้า นายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย

มาตรา 1495 บัญญัติว่า การสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1449,มาตรา 1450,มาตรา 1452 และ มาตรา 1458 เป็นโมฆะ

มาตรา 1503 บัญญัติว่า เหตุที่จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการสมรสเพราะเหตุ ว่าเป็นโมฆียะ มีเฉพาะในกรณีที่คู่สมรสทำการฝ่าฝืน มาตรา 1448,มาตรา 1505,มาตรา 1506,มาตรา 1507 และ มาตรา 1509

มาตรา 1504 บัญญัติว่า การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1448 ผู้มีส่วนได้เสียขอให้เพิกถอนการสมรสได้ แต่บิดามารดาหรือผู้ปกครองที่ให้ความ ยินยอมแล้วจะขอให้เพิกถอนการสมรสไม่ได้

ถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนชายหญิงมีอายุครบตาม มาตรา 1448 หรือเมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบตาม มาตรา 1448 ให้ถือว่าการสมรส สมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส

มาตรา 1449 บัญญัติว่า การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกล จริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

มาตรา 1451 บัญญัติว่า ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้

มาตรา 1452 บัญญัติว่า ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ไม่ได้

มาตรา 1457 บัญญัติว่า การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้ จดทะเบียนแล้วเท่านั้น

มาตรา 1501 บัญญัติว่า การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน

มาตรา 1598/32 บัญญัติว่า การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการ สมรสฝ่าฝืน มาตรา 1451

มาตรา 1450 บัญญัติว่า ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลง มาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการ สมรสกันไม่ได้ ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตามสายโลหิตโดยไม่ คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

มาตรา 1453 บัญญัติว่า หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อย กว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่
(1) คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
(2) สมรสกับคู่สมรสเดิม
(3) มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการ รักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์หรือ
(4) มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

มาตรา 1514 บัญญัติว่า การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล
            การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน

มาตรา 1452 บัญญัติว่า ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ไม่ได้

มาตรา 1454 บัญญัติว่า ผู้เยาว์จะทำการสมรสให้นำความใน มาตรา 1436 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตามมาตรา 1454 ได้บัญญัติเงื่อนไขแห่งการสมรสไว้ว่า ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้เมื่อได้รับความยินยอมจากบุคคลดังต่อไปนี้ก่อน (มาตรา 1436) คือ บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง แล้วแต่กรณี ถ้าฝ่าฝืนการสมรสนั้นมีผลเป็นโมยะ ซึ่งบุคคลที่อาจให้ความยินยอมตามมาตรา 1454 สามารถขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการสมรสได้ตามมาตรา 1510 วรรคหนึ่ง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสองของมาตรา 1510 สิทธิขอเพิกถอนการสมรสย่อมเป็นอันระงับไป คือ

(1) ถ้าชายหรือหญิงที่ทำการสมรสนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้วหรือ

(2) เมื่อหญิงมีครรภ์

มาตรา 1498 บัญญัติว่า การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทาง ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อน หรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สิน ที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรสั่งเป็น ประการอื่น เมื่อได้พิเคราะห์ถึงภาระในครอบครัว ภาระในการหาเลี้ยงชีพ และฐานะของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ตลอดจนพฤติการณ์อื่นทั้งปวงแล้ว

มาตรา 1509 บัญญัติว่า การสมรสที่มิได้รับความยินยอมของบุคคลดังกล่าวใน มาตรา 1454 การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ

มาตรา 1510 บัญญัติว่า การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะมิได้รับความยินยอมของ บุคคลดังกล่าวใน มาตรา 1454 เฉพาะบุคคลที่อาจให้ความยินยอมตาม มาตรา 1454 เท่านั้น ขอให้เพิกถอนการสมรสได้

สิทธิขอเพิกถอนการสมรสตาม มาตรานี้ เป็นอันระงับ เมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุ ครบยี่สิบปีบริบูรณ์หรือเมื่อหญิงมีครรภ์

การฟ้องขอเพิกถอนการสมรสตาม มาตรานี้ ให้มีอายุความหนึ่งปี นับแต่วัน ทราบการสมรส

มาตรา 1507 บัญญัติว่า ถ้าคู่สมรสได้ทำการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาดซึ่งถ้า มิได้มีการข่มขู่นั้นจะไม่ทำการสมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ
            สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกข่มขู่เป็นอันระงับ เมื่อเวลาได้ผ่าน พ้นไปแล้วหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากการข่มขู่

มาตรา 1508 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะคู่สมรสสำคัญผิดตัวหรือถูก กลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ เฉพาะแต่คู่สมรสที่สำคัญผิดตัวหรือถูกกลฉ้อฉลหรือ ถูกข่มขู่เท่านั้นขอเพิกถอนการสมรสได้

มาตรา 1461 บัญญัติว่า สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและ ฐานะของตน

มาตรา 1496 บัญญัติว่า คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสที่ ฝ่าฝืน มาตรา 1449,มาตรา 1450 และ มาตรา 1458 เป็นโมฆะ

คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส อาจร้องขอให้ ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว ผู้มี ส่วนได้เสียจะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้ 

มาตรา 1499 บัญญัติว่า การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1449,มาตรา 1450 หรือ มาตรา 1458 ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อม สิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นโมฆะ

การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1452 ไม่ทำให้ชายหรือ หญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนที่ชายหรือ หญิงนั้น รู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ แต่การสมรสที่เป็นโมฆะ ดังกล่าวไม่ทำให้คู่สมรสเกิดสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของ คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง

การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1449,มาตรา 1450 หรือ มาตรา 1458 หรือ ฝ่าฝืน มาตรา 1452 ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดได้ สมรสโดยสุจริตฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ และถ้าการสมรสที่ เป็นโมฆะนั้นทำให้ฝ่ายที่ได้สมรสโดยสุจริตต้องยากจนลง เพราะ ไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานที่เคยทำอยู่ก่อนมี คำพิพากษาถึงที่สุด หรือก่อนที่จะได้รู้ว่าการสมรสของเป็นโมฆะ แล้วแต่กรณี ฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ด้วยสิทธิเรียกค่า เลี้ยงชีพในกรณีนี้ให้นำ มาตรา 1526 วรรค1 และ มาตรา 1528 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

สิทธิเรียกร้องค่าทดแทน หรือค่าเลี้ยงชีพตามวรรคสาม มี กำหนดอายุความสองปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด สำหรับ กรณีการสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1449,มาตรา 1450 หรือ มาตรา 1458 หรือนับแต่วันที่รู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ สำหรับกรณีการสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่า ฝืน มาตรา 1452

 3              มาตรา 1469 บัญญัติว่า สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกัน ในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใด ที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการ เป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระบทกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้ทำการโดยสุจริต

มาตรา 1474 บัญญัติว่า สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
 ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

มาตรา 1490 บัญญัติว่า หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบ ครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

มาตรา 1471 บัญญัติว่า สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ กายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดย การให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น

 มาตรา 1473 บัญญัติว่า สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ

มาตรา 1474 บัญญัติว่า สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดย การให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
 ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

มาตรา 1476 บัญญัติว่า สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความ ยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล

การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยา จัดการได้มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง 

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตามมาตรา 1476 ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการจัดการสินสมรสไว้ว่า คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรสได้ตามลำพัง เว้นแต่นิติกรรมที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 1476 (1)-(8) ถือเป็นเรื่องที่ สามีและภริยาต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อน หากสามีหรือภริยาประสงค์จะให้การจัดการสินสมรสแตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1476 ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน จะต้องทำเป็นสัญญาก่อนสมรสไว้เท่านั้น (มาตรา 1476/1)

มาตรา 1476/1 บัญญัติว่า สามีและภริยาจะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปจากที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1476 ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ก็ต่อเมื่อได้ทำสัญญาก่อน สมรสไว้ตามที่บัญญัติใน มาตรา 1465 และ มาตรา 1466 ในกรณีดังกล่าวนี้ การจัดการสินสมรสให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรส

ในกรณีที่สัญญาก่อนสมรสระบุการจัดการสินสมรสไว้แต่เพียงบางส่วนของ มาตรา 1476 การจัดการสินสมรสนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรสให้ เป็นไปตาม มาตรา 1476

มาตรา 1480 บัญญัติว่า การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับ ความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตาม มาตรา 1476 ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่ สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม นั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือ ในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่า ตอบแทน

การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น หนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่ วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น

มาตรา 1518 บัญญัติว่า สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็น เหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว

มาตรา 1523 บัญญัติว่า เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามี มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น

สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และ ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตน มีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้

ถ้าสามีหรือภริยายินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตาม มาตรา 1516 (1) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะ เรียกค่าทดแทนไม่ได้

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตามมาตรา 1523 วรรคสอง เป็นกรณีภริยาเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาว ซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องมีการฟ้องหย่าก่อนแต่อย่างใด ดังนั้น ภริยาจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นนั้นได้โดยไม่จำต้องฟ้องหย่าก่อน (ซึ่งจะต่างกับการเรียกค่าทดแทนตามมาตรา 1523 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องมีการฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุตามมาตรา 1516 (1) เสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้องได้)

มาตรา 1465 บัญญัติว่า ถ้าสามีภริยามิได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็น พิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินนั้น ให้บังคับ ตามบทบัญญัติในหมวดนี้

ถ้าข้อความใดในสัญญาก่อนสมรสขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน หรือระบุให้ใช้กฎหมายประเทศอื่นบังคับเรื่องทรัพย์สิน นั้น ข้อความนั้น ๆ เป็นโมฆะ

มาตรา 1466 บัญญัติว่า สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ ถ้ามิได้จดแจ้งข้อตกลงกันเป็น สัญญาก่อนสมรสนั้นไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือ มิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคนแนบไว้ ท้ายทะเบียนสมรส และได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียน สมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้

มาตรา 1488 บัญญัติว่า ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ก่อไว้ ก่อนหรือระหว่างสมรส ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่ พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น

มาตรา 1490 บัญญัติว่า หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบ ครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและ การศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน

 4          มาตรา 1514 บัญญัติว่า การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล

            การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน

            มาตรา 1515 บัญญัติว่า เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้การหย่า โดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

มาตรา 1516 บัญญัติว่า เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1517 บัญญัติว่า เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (1) และ (2) ถ้าสามี หรือภริยา แล้วแต่กรณี ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุ หย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้

เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีก ฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้

ในกรณีฟ้องหย่าโดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตาม มาตรา 1516 (8) นั้น ถ้าศาลเห็นว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บน เป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้

มาตรา 1536 บัญญัติว่า เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบ วันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วย กฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี

ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่บุตรที่เกิดจากหญิงก่อนที่ได้มีคำ พิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ หรือภายในระยะเวลา สามร้อยสิบวันนับแต่วันนั้น

มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบ ด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จด ทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

                มาตรา 1533 บัญญัติว่า เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน

 

3105

1          มาตรา 55 บัญญัติว่า เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้

          กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 ในการเสนอคดีต่อศาลเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยทำเป็นคำฟ้องนั้น หมายถึงกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง โดยบุคคลผู้ที่อ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่และจะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้นั้น จะต้องปรากฏว่าบุคคลผู้นั้นได้ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่อย่างแท้จริงด้วย

            กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 สิทธิในการนำคดีแพ่งขึ้นสู่ศาลมีได้ 2 กรณี คือ

1. เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ เป็นการเสนอคดีแบบคดีมีข้อพิพาทโดยทําเป็นคําฟ้อง

2. กรณีจําต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นการเสนอคดีแบบคดีไม่มีข้อพิพาท โดยทำเป็นคำร้องขอ

คำว่าโต้แย้งสิทธิหมายถึง การกระทำหรืองดเว้นกระทำการอันใดอันหนึ่งที่เป็นการละเมิดสิทธิ ขัดสิทธิ หรือกระทบกระเทือนสิทธิของผู้อื่น แล้วทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ที่จะอ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่และจะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้นั้นจะต้องปรากฏว่าผู้นั้นได้ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่อย่างแท้จริงด้วย

มาตรา 188 (1) บัญญัติว่า ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับต่อไปนี้

               (1) ให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาล

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 สิทธิในการนำคดีแพ่งขึ้นสู่ศาลมีได้ 2 กรณี คือ

1. เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ เป็นการเสนอคดีแบบคดีมีข้อพิพาทโดยทําเป็นคําฟ้อง

2. กรณีจําต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นการเสนอคดีแบบคดีไม่มีข้อพิพาท โดยทำเป็นคำร้องขอ

ในกรณีที่บุคคลใดจะใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 55 ประกอบมาตรา 188 (1) ได้นั้น จะต้องมีกฎหมายสารบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีเช่นนั้นไว้ด้วย เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลใดเป็นบุคคลสาบสูญ การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าได้กรรมสิทธิ์ โดยการครอบครองปรปักษ์

 มาตรา 59 บัญญัติว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป อาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม  ถ้าหากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี แต่ห้ามมิให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกัน เว้นแต่มูลความแห่งคดีเป็นการชําระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ หรือได้มีกฎหมายบัญญัติไว้ดังนั้นโดยชัดแจ้ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าบุคคลเหล่านั้นแทนซึ่งกันและกันเพียงเท่าที่จะกล่าวต่อไปนี้

(1) บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทําโดย หรือทําต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทําโดย หรือทําต่อ คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทําไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ

(2) การเลื่อนคดีหรือการงดพิจารณาคดีซึ่งเกี่ยวกับคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ใช้ถึงคู่ความร่วมคนอื่นๆด้วย

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 59 ที่วางหลักว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปอาจเป็นคู่ความในคดีเดียวกันได้โดยเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม หากปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีนั้น หมายความว่า ต้องมีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดี โดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสาระสำคัญ เช่น ในกรณีเหตุละเมิดครั้งเดียวกันมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคน ผู้เสียหายเหล่านั้นถือว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันในมูล ความแห่งคดี จึงเป็นโจทก์ร่วมกันได้

                    มาตรา 57 (2) บัญญัติว่า บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความอาจเข้ามาเป็นคู่ความได้ด้วยการร้องสอด
                    (2) ด้วยความสมัครใจเองเพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น โดยยื่นคำร้องขอต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา ขออนุญาตเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมหรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของคู่ความฝ่ายนั้นแต่ว่าแม้ศาลจะได้อนุญาตให้เข้าแทนที่กันได้ก็ตาม คู่ความฝ่ายนั้นจำต้องผูกพันตนโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการ เสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย

                มาตรา 58 วรรคสอง บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ร้องสอดที่ได้เป็นคู่ความตามอนุมาตรา (๒) แห่งมาตราก่อน ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายซึ่งตนเข้าเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมในชั้นพิจารณาเมื่อตนร้องสอด และห้ามมิให้ใช้สิทธิเช่นว่านั้นในทางที่ขัดกับสิทธิของโจทก์หรือจำเลยเดิม และให้ผู้ร้องสอดเสียค่าฤชาธรรมเนียมอันเกิดแต่การที่ร้องสอด แต่ถ้าศาลได้อนุญาตให้เข้าแทนที่โจทก์หรือจำเลยเดิม ผู้ร้องสอดจึงมีฐานะเสมอด้วยคู่ความที่ตนเข้าแทน

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 57 (2) เป็นการร้องสอดเข้ามาในคดีด้วยความสมัครใจเองเพราะผู้ร้องสอดเห็นว่าตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น โดยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม หรือเข้าแทนที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียทีเดียวโดยได้รับความยินยอมของคู่ความฝ่ายนั้น ซึ่งผู้ที่จะร้องสอดตามมาตรา 57 (2) จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี กล่าวคือ คำพิพากษาของคดีนั้นมีผลกระทบกระเทือนสิทธิของผู้ร้องหรือมีผลบังคับไปถึงผู้ร้องโดยตรง เขาจึงต้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

และการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามมาตรา 57 (2) นี้ สิทธิและหน้าที่ของผู้ที่เข้ามาเป็นคู่ความร่วมนั้นกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 58 วรรคสองว่า ห้ามผู้ร้องสอดใช้สิทธินอกเหนือหรือขัดกับสิทธิของคู่ความเดิมที่ตนเข้ามาร่วม

2             มาตรา 3 บัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง

   (1) ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักร ให้ศาลแพ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ

   (2) ในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร

         (ก) ถ้าจำเลยเคยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่ใดในราชอาณาจักรภายในกำหนดสองปี ก่อนวันที่มีการเสนอคำฟ้อง     ให้ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลย

         (ข) ถ้าจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในราชอาณาจักรไม่ว่าโดยตนเอง หรือตัวแทน หรือโดยมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการนั้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการ หรือติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนดสองปีก่อนนั้น เป็นภูมิลำเนาของจำเลย

               มาตรา 4 บัญญัติว่า เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น
               (1) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่

               (2) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

            กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) กรณีเสนอคดีเป็นคำฟ้อง ซึ่งเป็นการฟ้องคดีมีข้อพิพาทให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ หรือศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นศาลใดศาลหนึ่งก็ได้

ศาลที่มูลคดีเกิด คำว่ามูลคดีหมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องขึ้น รวมทั้งสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ด้วย ซึ่งกรณีคำฟ้องให้รับผิดในมูลสัญญานั้น ถือว่าการเกิดสัญญาเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิ จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้น ณ สถานที่ที่เกิดสัญญานั่นเอง

มาตรา 4 ทวิ บัญญัติว่า คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า การเสนอคดีต่อศาลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) ซึ่งเป็นการฟ้องคดีมีข้อพิพาท ให้เสนอต่อศาลต่อไปนี้

1. ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนา หรือ

2. ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น

คําว่า "มูลคดีหมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องขึ้น ซึ่งในกรณีการฟ้องให้ชำระหนี้ตามสัญญานั้น สถานที่ที่มูลคดีเกิดก็คือสถานที่ที่สัญญาเกิดขึ้นนั่นเอง

ในกรณีที่จะเสนอคําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลอสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ หรือศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ตามมาตรา 4 ทวิ ซึ่ง คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หมายถึงคำฟ้องที่การใช้ใช้สิทธิเรียกร้องจะต้องบังคับหรือพิจารณาเอาแก่ตัวอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ โดยเป็นการฟ้องบังคับที่ตัวอสังหาริมทรัพย์เข้ามาเกี่ยวข้องในการที่จะต้องถูกบังคับตามคำขอด้วย

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า การเสนอคดีต่อศาลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 4 (1) ซึ่งเป็นการฟ้องคดีมีข้อพิพาท ให้เสนอต่อศาลต่อไปนี้

1. ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนา หรือ

2. ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น

ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต

-  ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ ซึ่งบุคคลอาจมีภูมิลำเนาหลายแห่งก็ได้ โจทก์จึงอาจฟ้องจำเลยต่อศาลใดศาลหนึ่งที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้

- ภูมิลำเนาของนิติบุคคล ได้แก่ ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ หรือถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ทำการ หรือถิ่นอันเลือกเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง ในกรณีนิติบุคคลมีที่ตั้งที่ทำการหลายแห่งหรือมีสำนักงานสาขา ให้ถือว่าถิ่นที่ตั้งของที่ทำการหรือของสำนักงานสาขาเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ ที่นั่นด้วย

ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล

คําว่า "มูลคดีหมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องขึ้น ซึ่งในกรณีการฟ้องให้ชำระหนี้ตามสัญญานั้น สถานที่ที่มูลคดีเกิดก็คือสถานที่ที่สัญญาเกิดขึ้นนั่นเอง

ในกรณีที่จะเสนอคําฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลอสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ หรือศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ตามมาตรา 4 ทวิ ซึ่ง คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หมายถึงคำฟ้องที่การใช้ใช้สิทธิเรียกร้องจะต้องบังคับหรือพิจารณาเอาแก่ตัวอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ โดยเป็นการฟ้องบังคับที่ตัวอสังหาริมทรัพย์เข้ามาเกี่ยวข้องในการที่จะต้องถูกบังคับตามคำขอด้วย

                    มาตรา 4 จัตวา บัญญัติว่า คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก  ให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย
                    ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล
                    มาตรา 5 บัญญัติว่า คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่านั้น  ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดี  เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี  เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดีหรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดี  ถ้ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่นว่านั้นก็ได้

 3             มาตรา 173 บัญญัติว่า เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี

และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น
               นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้
               (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น และ

            (2) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อันเกี่ยวด้วยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้น เช่นการเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลย การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้หาตัดอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีไว้ในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไม่

   ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ถ้าคดีเดิมอยู่ในระหว่างการพิจารณา (ไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา) โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่นอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นฟ้องซ้อนซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย

               มาตรา 173 วรรคสอง (1) บัญญัติว่า นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้
               (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น และ…”

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1) คดีเดิมต้องอยู่ในระหว่างพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา

2) คู่ความทั้งสองฝ่ายในคดีเดิมและคดีหลังจะต้องเป็นคู่ความเดียวกัน คือ คู่ความทั้งสองฝ่ายต้องตรงกันทั้งสองฐานะ

3) คดีเดิมกับคดีหลังต้องเป็นเรื่องเดียวกัน คือ ต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับที่ฟ้องไว้แล้ว

4) ห้ามโจทก์ฟ้อง

5) ในศาลเดียวกันหรือศาลอื่น

               มาตรา 179 บัญญัติว่า โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้างหรือข้อเถียง อันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกก็ได้
               การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้
               (1) เพิ่ม หรือลด จำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือ
               (2) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติม หรือเสนอคำฟ้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือ
               (3) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม หรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้ออ้างหรือข้อเถียง เพื่อสนับสนุนข้อหาหรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
               แต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายใดเสนอคำฟ้องใดต่อศาล ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องเพิ่มเติมหรือฟ้องแย้ง ภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

            มาตรา 180 บัญญัติว่า การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้วให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย

   การแก้ไขคําฟ้องตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 วรรคสอง (2) นั้น เป็นการเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติม โดยคำฟ้องเดิมและคำฟ้องที่เสนอในภายหลังนั้นต้องเกี่ยวข้องกัน กล่าวคือ ต้องเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ (ตามมาตรา 179 วรรคท้าย) และในการขอแก้ไขคำฟ้องนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 180 ด้วย คือ ต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันสองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นต่อไปนี้

(1) มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น

(2) เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือ

(3) เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาด เล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย

            กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์นั้น อาจเป็นการขอแก้ไขในข้อเพิ่มหรือลดจำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟองเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟองเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมก็ได้ แต่คำฟ้องภายหลังนี้กับฟองเดิมต้องเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ โดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 179 และมาตรา 180

               มาตรา 144 บัญญัติว่า เมื่อศาลใดมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว
ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น
เว้นแต่กรณีจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
               (1) การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตาม มาตรา 143
               (2) การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปฝ่ายเดียว ตาม มาตรา 209
และคดีที่เอกสารได้สูญหายหรือบุบสลายตาม มาตรา 53
               (3) การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกา ตาม มาตรา 229 และ 247
และการดำเนินวิธีบังคับชั่วคราวในระหว่างการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาตาม มาตรา 254 วรรคสุดท้าย
               (4) การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคืนไปยังศาลล่างที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสิน
คดีนั้น เพื่อให้พิพากษาใหม่และหรือพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม มาตรา 243
               (5) การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 271
               ทั้งนี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่ง มาตรา 16 และ 240 ว่าด้วย
การดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง
               มาตรา 148 บัญญัติว่า คดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้อง
ฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
               (1) เมื่อเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล
               (2) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งได้กำหนดวิธีการชั่วคราว ให้อยู่ภายใต้บังคับที่จะแก้ไข
เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกเสียได้ตามพฤติการณ์
               (3) เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ให้ยกคำฟ้องเสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมา
ยื่นใหม่ ในศาลเดียวกันหรือในศาลอื่นภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
               มาตรา 173 บัญญัติว่า เมื่อศาลได้รับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลออกหมายส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี 
และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันยื่นคำฟ้อง ให้โจทก์ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ส่งหมายนั้น
               นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้
               (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น และ
               (2) ถ้ามีเหตุเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพฤติการณ์อันเกี่ยวด้วยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้น เช่นการเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลย การเปลี่ยนแปลงเช่นว่านี้หาตัดอำนาจศาลที่รับฟ้องคดีไว้ในอันที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไม่

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า การฟ้องซ้ำตามมาตรา 148 ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1) คดีแรกศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี คู่ความฝ่ายใดจะต่อสู้คดีว่ามีการฟ้องซ้ำตามมาตรา 148 ไม่ได้

2) ห้ามคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก ซึ่งคำว่าคู่ความเดียวกันนี้หมายถึงทั้งโจทก์และจำเลย รวมถึงผู้สืบสิทธิจากโจทก์และจำเลยในคดีแรกด้วย แม้จะฟ้องคนละศาลก็ต้องห้าม

3) เฉพาะประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน คือ กฎหมายห้ามมิให้นำประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วกลับมาพิจารณากันใหม่ ดังนั้น หากศาลได้ตัดสินชี้ขาดประเด็นใดไปแล้วก็จะนำประเด็นนั้นมาฟ้องร้องกันอีกไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยเหตุอื่นซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคดีแรก

ส่วนการฟ้องซ้อนตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1) คดีเดิมต้องอยู่ในระหว่างพิจารณาไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา

2) คู่ความทั้งสองฝ่ายในคดีเดิมและคดีหลังจะต้องเป็นคู่ความเดียวกัน

3) คดีเดิมกับคดีหลังต้องเป็นเรื่องเดียวกัน

4) ห้ามโจทก์ฟ้อง

5) ในศาลเดียวกันหรือ ศาลอื่น

               มาตรา 175 บัญญัติว่า ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องได้โดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล
               ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่
               (1) ห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมีก่อน
               (2) ในกรณีที่โจทก์ถอนคำฟ้องเนื่องจากมีข้อตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลยให้ศาลอนุญาตไปตามคำขอนั้น
               มาตรา 176 บัญญัติว่า การทิ้งคำฟ้องหรือถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย แต่ว่าคำฟ้องใด ๆ ที่ได้ทิ้งหรือถอนแล้วอาจยื่นใหม่ได้ ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ
      มาตรา 177 วรรคสาม บัญญัติว่า จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก
กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม การที่จำเลยจะฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การนั้น จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 
               1. ต้องมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ เพราะฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องชนิดหนึ่งที่คู่ความเสนอต่อศาล ผู้มีสิทธิฟ้องแย้งจึงต้องเป็นผู้ที่ถูกโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ ดังนั้น หากไม่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ก็จะฟ้องแย้งไม่ได้ 
               2. ต้องมีฟ้องเดิมหรือคู่ความเดิม เพราะฟ้องแย้งนั้นเป็นกรณีที่จำเลยจะกลับฐานะมาเป็นโจทก์ในคดีฟ้องแย้ง ดังนั้น การฟ้องแย้งจึงต้องมีฟองเดิมหรือคู่ความเดิม 
               3. ฟ้องแย้งต้องเป็นกรณีจำเลยฟ้องแย้งแก่โจทก์ในคดี เพราะโดยปกติแล้วจำเลยย่อมสามารถฟ้องโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่งได้ ฟ้องแย้งจึงต้องเป็นการฟ้องที่จำเลยฟ้องแย้งกลับไปยังโจทก์ในคดีเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลย
             มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น
               มาตรา 177 วรรคสาม บัญญัติว่า จำเลยจะฟ้องแย้งมาในคำให้การก็ได้ แต่ถ้าฟ้องแย้งนั้นเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมแล้ว ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก

มาตรา 188 (4) บัญญัติว่า ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับต่อไปนี้

(4) ถ้าบุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าบุคคลเช่นว่ามานี้เป็นคู่ความ และให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท แต่ในคดีที่ยื่นคำร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้คำอนุญาตที่ผู้แทนโดยชอบธรรมได้ปฏิเสธเสียหรือให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถอนคืนคำอนุญาตอันได้ให้ไว้แก่ผู้ไร้ความสามารถนั้น ให้ถือว่าเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท แม้ถึงว่าผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ไร้ความสามารถนั้นจะได้มาศาล และแสดงข้อคัดค้านในการให้คำอนุญาตหรือถอนคืนคำอนุญาตเช่นว่านั้น

มาตรา 179 วรรคหนึ่งและวรรคสอง บัญญัติว่า โจทก์หรือจำเลยจะแก้ไขข้อหา ข้อต่อสู้ ข้ออ้าง หรือข้อเถียงอันกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลแต่แรกก็ได้
              การแก้ไขนั้น โดยเฉพาะอาจเป็นการแก้ไขในข้อต่อไปนี้
(1) เพิ่ม หรือลด จำนวนทุนทรัพย์ หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือ
(2) สละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์โดยวิธีเสนอคำฟ้องเพิ่มเติม หรือเสนอคำฟ้องเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หรือ
(3) ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ เป็นข้อแก้ข้อหาเดิม หรือที่ยื่นภายหลัง หรือเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้ออ้าง หรือข้อเถียงเพื่อสนับสนุนข้อหา หรือเพื่อหักล้างข้อหาของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

4             มาตรา 200 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 198 ทวิ และมาตรา 198 ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาล
ในวันนัดสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา

                ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลในวันนัดอื่นที่มิใช่วันนัดสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นสละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว

                    มาตรา 204 บัญญัติว่า ถ้าจำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว
                    มาตรา 206 บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ตนเป็นฝ่ายชนะโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณานั้นหาได้ไม่ ให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้
                    เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติมาตรา 198 ทวิ วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับแก่คดีของคู่ความฝ่ายที่มาศาลโดยอนุโลม
                    ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณามาศาลภายหลังที่เริ่มต้นสืบพยานไปบ้างแล้ว และแจ้งต่อศาลในโอกาสแรกว่าตนประสงค์จะดำเนินคดี เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณานั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรและศาลไม่เคยมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำขอของคู่ความฝ่ายนั้นมาก่อนตามมาตรา 199 ตรี ซึ่งให้นำมาใช้บังคับการขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 207 ด้วย ให้ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีนั้นใหม่ ในกรณีเช่นนี้ หากคู่ความนั้นขาดนัดพิจารณานั้นอีก จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรานี้ไม่ได้
                    ในกรณีตามวรรคสาม ถ้าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณามิได้แจ้งต่อศาลก็ดีหรือศาลเห็นว่าการขาดนัดพิจารณานั้นเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี หรือคำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นต้องห้ามตามกฎหมายก็ดี ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
                    (1) ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบ ถ้าคู่ความนั้นมาศาลเมื่อพ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบแล้ว
                    (2) ถ้าคู่ความที่ขาดนัดพิจารณามาศาลเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบไปแล้ว ห้ามไม่ศาลยอมให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาคัดค้านพยานหลักฐานเช่นว่านั้น โดยวิธีถามค้านพยานของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้สืบไปแล้ว หรือโดยวิธีคัดค้านการระบุเอกสารหรือคัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญของศาล แต่ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานเข้าสืบยังไม่สมบูรณ์ ให้ศาลอนุญาตให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาหักล้างได้แต่เฉพาะพยานหลักฐานที่นำสืบภายหลังที่ตนมาศาล
                    (3) ในกรณีเช่นนี้ คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่
                    
                    มาตรา 197 บัญญัติว่า เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การแล้ว จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
                    มาตรา 198 บัญญัติว่า ถ้าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ให้โจทก์มีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การสิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด
                    ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ
                    ถ้าโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีโดยขาดนัดไปตามมาตรา 198 ทวิ แต่ถ้าศาลมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจะไม่ทราบหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ ก็ให้ศาลให้มีการส่งหมายเรียกใหม่ โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน และจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควร เพื่อให้จำเลยได้ทราบหมายเรียกนั้นก็ได้
                    มาตรา 198 ทวิ บัญญัติว่า ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี โดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้
                    เพื่อประโยชน์ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้ แต่ในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัวหรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
                    ในการกำหนดจำนวนเงินตามคำขอบังคับของโจทก์ ให้ศาลปฏิบัติดังนี้
                    (1) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินจำนวนแน่นอน ให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่ศาลเห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยาน
                    (2) ในกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็น
                    ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยานตามมาตรานี้ มิให้ถือว่าจำเลยนั้นขาดนัดพิจารณา
                    ถ้าโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบตามความในมาตรานี้ภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล และให้ศาลยกฟ้องของโจทก์

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 198 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องจำเลย แต่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องมีคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่จำเลยต้องยื่นคำให้การสิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งถ้าศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ศาลอาจมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีก็ได้ ตามมาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง  แต่ถ้าเป็นคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัวหรือคดีพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ให้ศาลสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว และศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบได้เองตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่ง ความยุติธรรมตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสอง


มาตรา 199 ตรี บัญญัติว่า จําเลยซึ่งศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคําให้การ ถ้ามิได้ยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น จําเลยนั้นอาจมีคําขอให้พิจารณาคด์ใหม่ได้ เว้นแต่…”

มาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คําขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากที่ได้ส่งคําบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งให้แก่จําเลยที่ขาดนัดยื่นคําให้การ แต่ถ้าศาลได้กําหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคําบังคับเช่นว่านี้โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือวิธีอื่นแทนจะต้องได้มีการปฏิบัติตามข้อกําหนดนั้นแล้ว ในกรณีที่จําเลยขาดนัดยื่นคําให้การไม่สามารถยื่นคําขอภายในระยะเวลาที่กําหนดโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จําเลยนั้นอาจยื่นคําขอให้พิจารณาคดีใหมได้ภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้ยื่นคําขอเช่นว่านี้เมื่อพ้นกําหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคําพิพากษาหรือคําสั่งโดยวิธีอื่น

มาตรา 199 เบญจ วรรคสอง บัญญัติว่า ในการพิจารณาคำขอให้พิจารณาใหม่ ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่า การขาดนัดยื่นคำให้การนั้น มิได้เป็นไปโดยจงใจ หรือ มีเหตุอันสมควร และ ศาลเห็นว่า เหตุผลที่อ้างมาในคำขอนั้น ผู้ขออาจมีทางชนะคดีได้ ทั้งในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้านั้น ผู้ขอได้ยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ ในกรณีเช่นนี้ ถ้ามีการอุทธรณ์ หรือ ฎีกาคำพิพากษา หรือ คำสั่งที่ให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดี ให้ศาลแจ้งคำสั่งดังกล่าว ให้ศาลอุทธรณ์ หรือ ศาลฎีกา แล้วแต่กรณีทราบด้วย

กรณีตามปัญหาวินิจฉัยได้ว่า การขอพิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 199 ตรี ผู้ยื่นคำขอจะต้องเป็นจำเลยที่แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การ โดยจะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยตามมาตรา 199 จัตวาและ ต้องแสดงเหตุว่าการขาดนัดนั้นมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรตามมาตรา 199 เบญจ วรรคสอง

 

1102

มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย

ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่าง ๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก

มาตรา 61 บัญญัติว่า ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้

ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี

(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลายหรือสูญหายไป

(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไปถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น

                มาตรา 21 บัญญัติว่า ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

            มาตรา 24 บัญญัติว่า ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร

                มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์

มาตรา 29 บัญญัติว่า การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลงการนั้นเป็นโมฆียะ

มาตรา 30 บัญญัติว่า การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต

มาตรา 34 บัญญัติว่า คนเสมือนไร้ความสามารถนั้น ต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้

(1) นำทรัพย์สินไปลงทุน

(2) รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงินหรือทุนอย่างอื่น

(3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า

(4) รับประกันโดยประการใด ๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้

(5) เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่าหกเดือนหรืออสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่าสามปี

(6) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูป เพื่อการกุศล การสังคมหรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา

(7) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่รับการให้โดยเสน่หา

(8) ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะได้มาหรือปล่อยไปซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือในสังหาริมทรัพย์อันมีค่า

(9) ก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือซ่อมแซมอย่างใหญ่

(10) เสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ เว้นแต่การร้องขอตามมาตรา 35 หรือการร้องขอถอนผู้พิทักษ์

(11) ประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

ถ้ามีกรณีอื่นใดนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ซึ่งคนเสมือนไร้ความสามารถอาจจัดการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว ในการสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเมื่อผู้พิทักษ์ร้องขอในภายหลังศาลมีอำนาจสั่งให้คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนจึงจะทำการนั้นได้

ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม

คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

การใดกระทำลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรานี้ การนั้นเป็นโมฆียะ


บทความที่ได้รับความนิยม