ตัวอย่าง โครงงานคุณธรรม ห้องเรียนสะอาดดีเมื่อมีเวรประจำ

 โครงงานคุณธรรม

ชื่อโครงงาน  ห้องเรียนสะอาดดีเมื่อมีเวรประจำ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียน ปีการศึกษา 2560


ที่มา ปัญหา และสาเหตุ  

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1ได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนจึงร่วมกับครูที่ปรึกษาวิเคราะห์

ปัญหาที่ควรได้รับการพัฒนาตามคุณเป้าหมายของโรงเรียน “ความรับผิดชอบ ความมีวินัย จิตสาธารณะ” จากการวิเคราะห์ปัญหา คือ การทำเวรห้องประจำวัน การดูแลเช็ดถูพื้นห้องเรียนให้สะอาดเอี่ยม การดูแลกระดาน โต๊ะเรียน ตู้เก็บเอกสาร หน้าต่าง ซึ่งบางคนไม่สนใจคิดว่าไม่สำคัญ มีการลืมทำเวรบ้าง ทำความสะอาดแล้ว แต่ก็ทำไม่หมดทุกซอกทุกมุม ไม่จัดโต๊ะให้เป็นระเบียบ บางคนก็ปล่อยให้เพื่อนในกลุ่มเวรวันนั้นๆทำเพียงลำพัง จึงร่วมกันตั้งกฎของห้องเรียน และร่วมกันกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก ที่ชัดเจนในการปฏิบัติตนของนักเรียน

 

 สาเหตุของปัญหา

  1. นักเรียนขี้เกียจทำเวร คิดว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญกับตน

  2. นักเรียนมีธุระด่วนที่ต้องไปทำ หรือ รีบกลับบ้านจึงลืมทำเวร 

  3. นักเรียนไม่ฝึกตนเองให้มีวินัย และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ตนได้รับ


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้นักเรียนชั้น ม.4/1 มีความรับผิดชอบในการทำเวรประจำวันที่หัวหน้าห้องได้จัดการจำนวนคนในห้อง ว่าแต่ละวันนั้นๆใครได้รับมอบหมายให้ดูแลความสะอาดวันไหนบ้างอย่างสม่ำเสมอ

  2. เพื่อให้นักเรียนชั้น ม.4/1 มีจิตสาธารณะในการช่วยเหลือกันทำความสะอาดห้อง 

  3. เพื่อให้นักเรียนชั้น ม.4/1 มีวินัยในตนเองบนพื้นฐานของความขยันหมั่นเพียร


เป้าหมาย

เป้าหมายเชิงปริมาณ  : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ( จำนวน  42  คน ) มีความรับผิดชอบในการทำเวรประจำวันที่ได้รับมอบหมายอย่างสม่ำเสมอ

เป้าหมายเชิงคุณภาพ  : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ( จำนวน  42  คน ) มีจิตสาธารณะ มีวินัย มีความรับผิดชอบและความขยันหมั่นเพียรในการทำเวรประจำวันที่ได้รับมอบหมายอย่างสม่ำเสมอ



เป้าหมายระยะสั้น  

( กรกฎาคม 2560 – กันยายน 2560 ) นักเรียน จำนวน  24  คน รู้จักการมีความรับผิดชอบในการทำเวรประจำวันที่ได้รับมอบหมายอย่างสม่ำเสมอ

เป้าหมายระยะยาว  

1 ปีการศึกษา (2560) นักเรียน จำนวน  38  คน รู้จักการมีความรับผิดชอบในการทำเวรประจำวันที่ได้รับมอบหมายอย่างสม่ำเสมอ


วิธีแก้ไขปัญหา 

  1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น ในประเด็นต่อไปนี้

    1. จัดระเบียบเวรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

    2. แนวทางการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อหน้าที่ หรือ ครูอบรมชี้แจงเรื่องการทำเวรประจำวัน

    3. มีบัญชีบันทึกการทำเวรประจำวันว่าวันนี้ใครทำ หรือ ไม่ทำ

    4. ตั้งกฎขึ้นมาว่าใคร ต้องทำอะไรบ้างในเวรวันนั้นๆ

    5. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเช็คเวรและบันทึกผลลงบัญชีบันทึกการทำเวรประจำวัน

  2. นักเรียนร่วมกันสรุปกิจกรรมของโครงงานคุณธรรม ดังนี้ 

    1. กิจกรรมนักสำรวจ คณะกรรมการร่วมกันสำรวจเวรโดยให้คณะกรรมการ 4-5 คน คอยสำรวจตรวจเช็คเวรในแต่ละวันและรายงานให้ทราบว่าเวรวันนั้นๆทำความสะอาดห้องเรียบร้อยหรือไม่ มีข้อผิดพลาดประการใด 

    2. กิจกรรมแยกขยะ

มีการแยกขยะโดยจะมีถุงดำแยกขวดพลาสติก / กระดาษ ที่ไม่ใช้แล้ว สามารถนำไปขาย และ       นำเงินที่ได้มาเข้าเป็นของห้องได้ จึงร่วมกันกำหนดให้มีถุงดำแยกขวดพลาสติก / กระดาษไว้       เมื่อเต็มถุงแล้วจึงนำไปขายเอาเงินเข้าห้องเพื่อประโยชน์ของห้อง  

  1. กิจกรรมรู้จักการเป็นจิตสาธารณะ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 มีจิตสำนึกในตนเอง เมื่อเห็นกระดาษ ขวดพลาสติก ขยะต่างๆ       ก็หยิบไปทิ้งขยะ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 มีความรับผิดชอบในตนเอง เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของห้องที่     ทำให้ห้องดูสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย

  1. นักเรียนร่วมกันประชุมระหว่างการดำเนินกิจกรรมโครงงานคุณธรรม เพื่อทบทวนว่าแต่ละกิจกรรมสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

  2. นักเรียนร่วมกันสรุปรายงานผลการจัดกิจกรรมโครงงานคุณธรรม

หลักธรรม/พระราชดำรัส/พระราชดำริ/คำสอน

หลักธรรมในการทำงานร่วมกัน คือ อิทธิบาท 4 “ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา” และ สังคหวัตถุ 4 “ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตาอิทธิบาท 4 ซึ่งหมายถึง ธรรมแห่งความสำเร็จ โดยหลักธรรมในอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย 

  1. ฉันทะ คือ การมีใจรักในสิ่งที่ทำ ใจที่รักอันเกิดจากความศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ทำ จึงจะเกิดผลจริงตามควร 

  2. วิริยะ คือ ความมุ่งมั่นทุ่มเท เป็นความมุ่งมั่นทุ่มเททั้งกายและใจ ที่จะเรียนรู้และทำให้เข้าถึงแก่นแท้ของสิ่งนั้นเรื่องนั้น คำว่า "วิริยะ" หมายถึงความเพียรพยายามอย่างสูงที่จะทำตามฉันทะหรือศรัทธาของตัวเอง 

  3. จิตตะ คือ ใจที่จดจ่อและรับผิดชอบ เมื่อมีใจที่จดจ่อแล้วก็จะเกิดความรอบคอบตาม 

  4. วิมังสา คือ การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ทำมา การมีใจรัก (ฉันทะ) แล้วทำด้วยความมุ่งมั่น (วิริยะ) อย่างใจจดใจจ่อและรับผิดชอบ (จิตตะ) โดยทำอย่างรอบรู้และรอบคอบ นำไปสู่การทบทวนตัวเองในสิ่งที่ได้คิดได้ทำว่าเกิดผลดีผลเสียอย่างไร 

              สังคหวัตถุ 4 ซึ่งหมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี และ เอื้อเฟื้อเกื้อกูล ประกอบด้วย

  1. ทาน : เกื้อกูลกันด้วยการให้ หมายถึง การให้ การเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว การมีน้ำใจที่ดีต่อกัน

  2. ปิยวาจา : ใช้วาจาประสานไมตรี หมายถึง การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคาย 

  3. อัตถจริยา : ร่วมสร้างสรรค์อุดมการณ์ หมายถึง การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือ การปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น 

  4. สมานัตตา : ร่วมทุกข์ร่วมสุขในทุกคราว หมายถึง การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย


คุณธรรมอัตลักษณ์

คุณธรรมเป้าหมาย  : ความรับผิดชอบ

พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก :  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 มีความรับผิดชอบในการทำเวรประจำวันที่ได้รับมอบหมายอย่างสม่ำเสมอ

วิธีการวัดและประเมินผล

ตัวชี้วัด : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 มีความรับผิดชอบในการทำเวรประจำวันที่ได้รับมอบหมายอย่างสม่ำเสมอ

วิธีการประเมิน : ตรวจจากแบบบันทึกการทำเวรประจำวัน แบบประเมิน

เครื่องมือที่ใช้การประเมิน : บัญชีบันทึกการทำเวรประจำวัน แบบประเมิน

ช่วงเวลาในการประเมิน : 16.00 น. (จันทร์ ถึง ศุกร์)

ชื่อโครงงานคุณธรรม : ห้องเรียนสะอาดดีเมื่อมีเวรประจำ

ชื่อคณะผู้รับผิดชอบนางสาว  

                                 :  นางสาว

                                 :  นางสาว

                                 :  นางสาว

                                 :  นาย

                                 :  นางสาว

                                 :  นางสาว

                                 :  นางสาว

ชื่อครูที่ปรึกษา : ครู 

                        : ครู  

พระอาจารย์ที่ปรึกษา : พระ    

บทความที่ได้รับความนิยม