สถานการณ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลกเรื่องดิน

 สถานการณ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลกเรื่องดิน

จัดทำโดย

นางสาว เลขที่ 1

นางสาว เลขที่ 9

นาย เลขที่ 11

นางสาว เลขที่ 20

นาย เลขที่ 23

นางสาว เลขที่ 42

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4/1

เสนอ
ครู

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ประชากรกับสิ่งแวดล้อม ( ส30285 )
โรงเรียน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560

 

คำนำ

       รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ประชากรกับสิ่งแวดล้อม ( ส30285 ) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4/1 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาความรู้ที่ได้จากเรื่องสถานการณ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลกเกี่ยวกับดิน พร้อมทั้งบอกข้อมูลเกี่ยวกับดิน ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรดิน รวมไปถึงสถานการณ์ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลกที่เกี่ยวกับดิน 

         ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้ และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุก ๆ ท่านที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความ     ขอบพระคุณยิ่งและขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

 

สารบัญ

เรื่อง                                                                                       หน้า

คำนำ                                                                                                       ก

สารบัญ                                                                                                     ข

สถานการณ์ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลก                                                      1-3

ประโยชน์ของดิน                                                                                         4

ปัญหาของทรัพยากรดิน                                                                                5-10

สถานการณ์ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลกเกี่ยวกับดิน                                       11-17

บรรณานุกรม                                                                                              ค

ภาคผนวก                                                                                                  ง

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดิน

สถานการณ์ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลก

เรื่องดิน

ดิน หมายถึง วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของหินและแร่ รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่หุ้มห่อโลก ซึ่งดินจะมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกันไปในที่ต่างๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด สิ่งมีชีวิตและระยะเวลาการสร้างตัวของดิน                                     

ประเภทของดิน

ดินเหนียว เป็นดินที่มีเนื้อละเอียด ในสภาพดินแห้งจะแตกออกเป็นก้อนแข็งมาก เมื่อเปียกน้ำแล้วจะมีความยืดหยุ่น สามารถปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี แต่สามารถอุ้มน้ำ ดูดยึด และแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้ดี เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ดินร่วน เป็นดินที่เนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือในสภาพดินแห้งจะจับกันเป็นก้อนแข็งพอประมาณ ในสภาพดินชื้นจะยืดหยุ่นได้บ้าง เมื่อสัมผัสหรือคลึงดินจะรู้สึกนุ่มมือแต่อาจจะรู้สึกสากมืออยู่บ้างเล็กน้อย เมื่อกำดิน ให้แน่นในฝ่ามือแล้วคลายมือออก ดินจะจับกันเป็นก้อนไม่แตกออกจากกัน เป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดี   ปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดินร่วน

ดินทราย เป็นดินที่มีอนุภาคขนาดทรายเป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่าร้อยละ 85 เนื้อดินมีการเกาะตัวกันหลวมๆ มองเห็นเป็นเม็ดเดี่ยวๆ ได้ ถ้าสัมผัสดินที่อยู่ในสภาพแห้งจะรู้สึกสากมือ เมื่อลองกำดินที่แห้งนี้ไว้ในอุ้งมือแล้วคลายมือออกดินก็จะแตกออกจากกันได้ แต่ถ้ากำดินที่อยู่ในสภาพชื้นจะสามารถทำให้เป็นก้อนหลวมๆ ได้ แต่พอสัมผัสจะแตกออกจากกันทันที 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดินทราย


http://oss101.ldd.go.th/web_soils_for_youth/image/soil/s_com3.gif

ดิน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ 


1. อนินทรียวัตถุ                                                                                                               อนินทรียวัตถุ หรือ แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบที่มีปริมาณมากที่สุดในดินทั่วไป ได้มาจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่                                                                                                                       อนินทรียวัตถุ อยู่ในดินในลักษณะของชิ้นส่วนที่เรียกว่า อนุภาคดิน ซึ่งมีหลายรูปทรงและมีขนาดแตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่                                                      1. กลุ่มอนุภาคขนาดทราย (เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00-0.05 ม.ม.)                                             2. กลุ่มอนุภาคขนาดทรายแป้ง (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-0.002 ม.ม.)                                    3.กลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียว (เส้นผ่าศูนย์กลาง < 0.002 ม.ม)

อนินทรียวัตถุ หรือ แร่ธาตุในดินนี้ เป็นส่วนที่สำคัญในการควบคุมลักษณะของเนื้อดิน เป็นแหล่งกำเนิดของธาตุอาหารพืช และเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน นอกจากนี้อนุภาคที่อยู่ในกลุ่มขนาดดินเหนียวยังเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการเกิดกระบวนการทางเคมีต่างๆ ในดินด้วย

2. อินทรียวัตถุ

อินทรียวัตถุในดิน ในที่นี้มีความหมายครอบคลุมตั้งแต่ส่วนของซากพืชซากสัตว์ที่กำลังสลายตัว เซลล์จุลินทรีย์ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และในส่วนที่ตายแล้ว ตลอดจนสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลาย หรือส่วนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่รวมถึงรากพืช หรือเซษซากพืช หรือสัตว์ที่ยังไม่มีการย่อยสลาย

อินทรียวัตถุในดินนี้ เป็นแหล่งสำคัญของธาตุอาหารพืช และป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์ดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน อีกทั้งยังเป็นส่วนที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสมบัติต่างๆ ของดินทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น โครงสร้างดิน ความร่วนซุย การระบายน้ำ การถ่ายเทอากาศ การดูดซับน้ำและธาตุอาหารของดิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความสามารถในการให้ผลผลิตของดินอีกด้วย

http://oss101.ldd.go.th/web_soils_for_youth/image/soil/s_com1-2.gif


3. น้ำในดิน   

น้ำในดิน หมายถึง ส่วนของน้ำที่พบอยู่ในช่องว่างระหว่างอนุภาคดินหรือเม็ดดิน มีความสำคัญมากต่อการปลูก และการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากเป็นตัวช่วยในการละลายธาตุอาหารต่างๆ ในดิน และเป็นส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายอาหารพืชจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของพืช

4. อากาศในดิน

หมายถึง ส่วนของก๊าซต่างๆ ที่แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินในส่วนที่ไม่มีน้ำอยู่ ก๊าซที่พบโดยทั่วไปในดิน คือ ก๊าซไนโตรเจน (N2) ออกซิเจน (O2) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งรากพืชและจุลินทรีย์ดินใช้ในการหายใจ และสร้างพลังงานในการดำรงชีวิต


ประโยชน์ของดิน

ดินเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินชนิดต่าง ๆ โดยใช้เวลาที่นานมาก หินที่สลายตัวผุกร่อนนี้จะมีขนาดต่าง ๆ กัน เมื่อผสมรวมกับซากพืช ซากสัตว์ น้ำ อากาศ ก็กลายเป็นเนื้อดินซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดของดิน โดยมนุษย์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดินเพื่อการดำรงชีวิตดังนี้

1. ดินมีประโยชน์ในแง่ของการทำการเกศตร ปลูกพืชทุกชนิด เพราะพืชทุกประเภทจะมีลักษณธะที่ต้องพึ่งพาอาศัย หาสารอาหารที่อยู่ในดิน เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของลำต้น นอกจากนั้นยังมีประโยชน์เกี่ยวเนื่องไปถึงขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์ของมนุษย์ เพราะสัตว์บางประเภทจะให้ผลิตผลที่ดี หากได้รับอาหารและแร่ธาตุจากพืชบางชนิดที่ทำการเพาะปลูกได้โดยอาศัยดินที่มีคุณภาพสูง

2. ดินเป็นสิ่งสำคัญในการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย อาคารบ้านเรือนของมนุษย์ เพราะไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างแบบไหน จำเป็นจะต้องอาศัยดิน ในการวางฐานรากเสมอ ยิ่งดินบริเวณนั้นเป็นดินที่มีความแข็งแกร่ง และคุณภาพดี ก็จะช่วยให้สภาพของอาคารนั้นๆ มีคุณภาพที่ดี มีความคงทนมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้นแล้ว มนุษย์ยังได้อาศัยดินในการเป็นส่วนประกอบของโครงสร้างอาคารอีกด้วย เช่น การใช้ทราย ที่เป็นดินประเภทหนึ่ง ในการผสมคอนกรีต เพื่อก่อสร้างอาคารสูง การใช้อิฐดินเผาเพื่อก่อผนังบ้าน เป็นต้น

3. อุตสาหกรรมมนุษย์ใช้ดินและที่ดินเพื่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม หรือใช้ดินเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตภาชนะใส่อาหารแทบจะทุกประเภทของมนุษย์ โดยจะมีกรรมวิธีที่ขึ้นรูปดินเป็นภาชนะรูปแบบต่างๆ ก่อนใช้สารเคลือบเพื่อสร้างผิวสัมผัสที่คงทนให้กับภาชนะนั้นๆ ภาชนะที่ทำจากดินก็เช่น จานกระเบื้อง ถ้วย ชาม เป็นต้น

4. ดินเป็นแหล่งสำหรับเก็บสาธารณูปโภคต่างๆ ที่ใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน เช่น การขุดสระเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในครัวเรือน หรือการขุดสระเพื่อเลี้ยงปลา การสร้างเขื่อนดินเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในภาคการเกษตร เป็นต้น ช่วยในการดูดซับ กรองและเก็บรักษาน้ำตามธรรมชาติโดยน้ำจะค่อยๆไหลซึมลงสู่ดินเป็นน้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาล และไหลลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ โดยน้ำที่ได้รับการกรองจากดินจะมีแร่ธาตุที่จำเป็น และสะอาดพอเพียงสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ 

5. ดินเป็นแหล่งหมุนเวียนแร่ธาตุที่สำคัญ โดยเฉพาะเมื่อมนุษย์หรือสัตว์ตายลง แล้วนำไปฝัง ดินจะมีการปรับและดูดซึมเอาแร่ธาตุจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกัน แล้วนำกลับมาใช้งานสำหรับการเกษตรกรรมอีกครั้ง ดินที่มีคุณภาพดี แร่ธาตุในดินสูง จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

6. ใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่บางภุมิประเทศน่าศึกษาทางธรณีวิทยา เพราะมีความสวยงามและเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้เดินทางท่องเที่ยว เช่น แพะเมืองผีจังหวัดแพร่


ปัญหาของทรัพยากรดิน

ดินเสี่อมโทรม 

ดินเสี่อมโทรม คือ ดินที่มีสภาพแปรเปลี่ยนไปจากเดิม และอยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อผลผลิตทางการ เกษตร เนื่องจากคุณสมบัติทางด้านต่าง ๆ ของดินไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่นสมบัติทางเคมีของดินมีสภาพเป็นกรดจัด เค็มจัด ทางด้านกายภาพของดินสูญเสียโครงสร้างทำให้เกิดอัดตัวแน่น ขาดความโปร่งพรุน ความอุดมสมบูรณ์ หรือปริมาณธาตุอาหารพืชลดลงและอยู่ในสภาวะไม่สมดุล สาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาพดินเสื่อมโทรม เกิดจากการชะล้าง พังทลายของดิน และการใช้ที่ดินโดยไม่ถูกต้อง ขาดการบำรุงรักษา โดยสาเหตุสำคัญ คือ                                                                                             

1. สภาพทางนิเวศเปลี่ยนแปลงไปการหักล้างถางป่า และเผาป่า เพื่อมาทำการเกษตร ทำให้ดินขาดสิ่งปกคลุม การสะสมของอินทรีย์วัตถุมีน้อย อุณหภูมิของหน้าดินสูงขึ้น การละลายตัวของวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ เป็นไปรวดเร็ว                                                                                                                            

2. การใช้ดินไม่ถูกต้องการทำการเกษตรโดยเพาะปลูกพืชใดพืชหนึ่งซ้ำซากติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่มีการปรับปรุงดินบำรุงดิน

ผลกระทบ

ด้านกายภาพ 

ความเสื่อมโทรมของดินเกิดจากการจัดการที่ดินไม่เหมาะสมขาดการป้องกันที่ไม่ถูกต้อง ทำให้มีการชะล้างพังทลายของหน้าดินที่เป็นส่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์หมดไป หน้าดินที่ถูกชะล้างจะตกลงไปเป็นตะกอนตามแหล่งน้ำต่างๆ ก่อให้เกิดการตื้นเขินของแหล่งน้ำทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขุดลอกตะกอนตามแหล่งน้ำเป็นจำนวนมาก และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

ด้านเศรษฐกิจ 

ความเสื่อมโทรมของดินส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตทางการเกษตร และกระทบต่อเกษตรกร 34 ล้านคน (ร้อยละ 60 ของประชากรทั้งประเทศ) ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจะได้รับผลผลิตต่ำเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่ำ ยากจนส่งผลรายได้ของประชากรที่ทำการเกษตรมีรายได้ต่ำกว่าประชากรนอกการเกษตรถึง 11 เท่า 

ด้านสังคม 

การที่เกษตรกรมีรายได้ต่ำ มีทางเลือกในการหารายได้น้อย การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ขยายพื้นที่ทำกินเพื่อให้มีรายได้เพียงพอหรืออพยพเข้าเมืองทิ้งถิ่นฐาน มาหางานทำในเมือง ซึ่งทั้ง 2 ทางเลือกนี้ก่อให้เกิดปัญหาต่อประเทศชาติทั้งสิ้น 

ปัญหาดินเค็ม

ดินเค็ม (saline soil) หมายถึงดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในสารละลายดินมากเกินไปจนมีผล กระทบต่อการเจริญเติบโตและผลิตผลของพืช เนื่องจากทำให้พืชเกิดอาการขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษในพืชมากเกินไปนอกจากนี้ยังทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารพืชด้วย

ลักษณะการเกิดและการแพร่กระจายดินเค็ม

ดินเค็มในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ดินเค็มบกและดินเค็มชายทะเล ดินเค็มบกมีทั้งดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และดินเค็มภาคกลาง ดินเค็มแต่ละประเภทมีสาเหตุการเกิด ชนิดของเกลือ การแพร่กระจาย ตามลักษณะสภาพพื้นที่ และตามลักษณะภูมิประเทศด้วย ดังนี้

ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แหล่งเกลือมาจากหินเกลือใต้ดิน น้ำใต้ดินเค็มหรือหินทราย หินดินดานที่อมเกลืออยู่ ลักษณะอีกประการหนึ่งคือ ความเค็มจะไม่มีความสม่ำเสมอในพื้นที่เดียวกันและความเค็มจะแตกต่างกันระหว่างชั้นความลึกของดินซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ลักษณะของดินเค็มที่สังเกตได้คือ จะเห็นขุยเกลือขึ้นตามผิวดิน และมักเป็นที่ว่างเปล่าไม่ได้ทำการเกษตร หรือมีวัชพืชทนเค็ม เช่น หนามแดง หนามปี เป็นต้น

ดินเค็มภาคกลาง

แหล่งเกลือเกิดจากตะกอนน้ำกร่อย หรือเค็มที่ทับถมมานานหรือเกิดจากน้ำใต้ดินเค็มทั้งที่อยู่ลึกและอยู่ตื้น เมื่อน้ำใต้ดินไหลผ่านแหล่งเกลือแล้วไปโผล่ที่ดินไม่เค็มที่อยู่ต่ำกว่าทำให้ดินบริเวณที่ต่ำกว่านั้นกลายเป็นดินเค็มทั้งนี้ขึ้นกับภูมิประเทศแต่ละแห่งสาเหตุการเกิดแพร่กระจายออกมามาก ส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์โดยการสูบน้ำไปใช้มากเกินไป เกิดการทะลักของน้ำเค็มเข้าไปแทนที่ การชลประทาน การทำคลองชลประทานรวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อใช้ในไร่นาบนพื้นที่ที่มีการทับถมของตะกอนน้ำเค็ม หรือจากการขุดหน้าดินไปขายทำให้ตะกอนน้ำเค็มถึงจะอยู่ลึกนั้น กลายเป็นแหล่งแพร่กระจายเกลือได้

ดินเค็มชายทะเล

สาเหตุการเกิดดินเค็มชายทะเลเนื่องมาจากการได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของน้ำทะเลโดยตรง องค์ประกอบของเกลือในดินเค็มเกิดจากการรวมตัวของธาตุที่มีประจุบวกพวกโซเดียม แมกนีเซียม แคลเซียม รวมกับธาตุที่ประจุลบ เช่น คลอไรด์ ซัลเฟต ไบคาร์บอเนต และคาร์บอเนต ดินเค็มที่เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในรูปของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) คล้ายคลึงกับดินเค็มชายทะเล แต่ดินเค็มชายทะเล มีแมกนีเชียมอยู่ในรูปคลอไรด์และซัลเฟตมากกว่า ส่วนชนิดของเกลือในดินเค็มภาคกลางมีหลายรูปมีหลายแห่งที่ไม่ใช่เกลือ NaCl แต่มักจะพบอยู่ในรูปของเกลือซัลเฟต คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต หรือ คาร์บอเนตของแมกนีเซียม แคลเซียม และโซเดียม

สาเหตุ

สาเหตุการแพร่กระจายดินเค็ม

เกลือเกิดขึ้นเป็นเกลือที่ละลายน้ำได้ดี น้ำจึงเป็นตัวการหรือพาหนะในการพาเกลือไปสะสมในที่ต่างๆ ที่น้ำไหลผ่าน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดการแพร่กระจายดินเค็ม

สาเหตุจากธรรมชาติ

หินหรือแร่ที่อมเกลืออยู่เมื่อสลายตัวหรือผุพังไป โดยกระบวนการทางเคมีและทางกายภาพ ก็จะปลดปล่อยเกลือต่างๆ ออกมาเกลือเหล่านี้อาจสะสมอยู่กับที่หรือเคลื่อนตัวไปกับน้ำแล้วซึมสู่ชั้นล่างหรือซึมกลับมาบนผิวดินได้โดยการระเหยของน้ำไปโดยพลังแสงแดดหรือถูกพืชนำไปใช้น้ำใต้ดินเค็มที่อยู่ระดับใกล้ผิวดินเมื่อน้ำนี้ซึมขึ้นบนดิน ก็จะนำเกลือขึ้นมาด้วยภายหลังจากที่น้ำระเหยแห้งไปแล้วก็จะทำให้มีเกลือเหลือสะสมอยู่บนผิวดินและที่ลุ่มที่เป็นแหล่งรวมของน้ำ น้ำแหล่งนี้ส่วนมากจะมีเกลือละลายอยู่เพียงเล็กน้อยก็ได้นานๆเข้าก็เกิดการสะสมของเกลือโดยการระเหยของน้ำพื้นที่แห่งนั้นอาจเป็นหนองน้ำหรือทะเลสาบเก่าก็ได้

สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์

การทำนาเกลือ ทั้งวิธีการสูบน้ำเค็มขึ้นมาตากหรือวิธีการขูดคราบเกลือจากผิวดินมาต้ม เกลือที่อยู่ในน้ำทิ้งจะมีปริมาณมากพอที่จะทำให้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงกลายเป็นพื้นที่ดินเค็มหรือแหล่งน้ำเค็ม การสร้างอ่างเก็บน้ำบนพื้นที่ดินเค็มหรือมีน้ำใต้ดินเค็ม ทำให้เกิดการยกระดับของน้ำใต้ดินขึ้นมาทำให้พื้นที่โดยรอบและบริเวณใกล้เคียงเกิดเป็นพื้นที่ดินเค็มได้ การชลประทานที่ขาดการวางแผนในเรื่องผลกระทบของดินเค็มมักก่อให้เกิดปัญหาต่อพื้นที่ซึ่งใช้ประโยชน์จากระบบชลประทานนั้นๆ แต่ถ้ามีการคำนึงถึงสภาพพื้นที่และศึกษาเรื่องปัญหาดินเค็มเข้าร่วมด้วย จะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาดินเค็มได้วิธีหนึ่งและการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้สภาพการรับน้ำของพื้นที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมายจากสภาพทางอุทกธรณีของน้ำเปลี่ยนแปลงไป แทนที่พืชจะใช้ประโยชน์กลับไหลลงไปในระบบส่งน้ำใต้ดินเค็มทำให้เกิดปัญหาดินเค็มตามมา


ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน 

การชะล้างพังทลายของดิน คือ การที่ดินถูกกัดเซาะเป็นร่องหรือถูกขุดเป็นบริเวณกว้างเป็นการเปลี่ยนแปลงของผิวดินอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุ 2 ประการคือ

1.การชะล้างพังทลายตามธรรมชาติ เช่น พื้นดินแตกระแหงเนื่องจากลม พื้นดินริมฝั่งน้ำถูกกัดเซาะเนื่องจากน้ำ หน้าดินถูกน้ำฝนพัดพาไป

2.การชะล้างพังทลายโดยการกระทำของมนุษย์และสัตว์ เช่น การหักร้างถางป่า การขุดถนน การขุดเหมืองแร่ การระเบิดเขา การขุดที่อยู่อาศัยของสัตว์

เมื่อใดก็ตาม ถ้าผิวหน้าของดินปราศจากพืชปกคลุม การชะล้างและพัดพาของหน้าดินจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีฝนตก ปริมาณดินที่ถูกพัดพาออกไปนั้นจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณและความรุนแรงของฝนที่ตกลงมาแต่ละครั้ง เมื่อดินชั้นบนซึ่งอุดมสมบูรณ์ถูกชะล้างหมดไปแล้ว ดินชั้นล่างก็จะโผล่ขึ้น กลายเป็นดินชั้นบนแทน โดยจะสังเกตได้ง่ายคือมีสภาพแน่นทึบและแข็งมีอินทรียวัตถุต่ำ ซึ่งจะเป็นดินที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชหรือทำการเกษตรด้านอื่นอีกต่อไป

ผลจากการชะล้างพังทลายของดิน

ผลของการชะล้างพังทลายของดินนอกจากจะทำให้ดินเสื่อมโทรมแล้วยังมีผลกระทบโดยตรงต่อสภาพสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆอีกเช่น 

  1. ทำให้พื้นที่อุดมสมบูรณ์ สำหรับการเพาะปลูกลดลง เกิดการบุกรุกทำลายป่าเพิ่มมากขึ้น เพื่อหาพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์กว่า 

  2. ตะกอนที่ถูกพัดพามา จะลงสู่แม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่นๆ ทำให้แม่น้ำหรือแหล่งน้ำตื้นเขิน น้ำขุ่นข้น ไม่เหมาะแก่การอุปโภคบริโภค

  3. ตะกอนที่ถูกพัดพาลงสู่อ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนต่างๆ ก็จะทำให้อายุการใช้งานของอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนเหล่านั้นลดลง

  4. ทำให้เกิดภาวะความแห้งแล้ง

  5. ดินชั้นบนซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารของพืชถูกเคลื่อนย้าย เป็นผลกระทบต่อเกษตรกรรม

  6. ดินเกิดเป็นร่องน้ำ

  7. ดินถูกพัดพาไปตกตะกอนทำให้แม่น้ำและอ่างเก็บน้ำตื้นเขินและทำให้เกิดเป็นสันดอนขึ้นเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมทางน้ำ



ปัญหาดินเปรี้ยว

ดินเปรี้ยว หรือดินกรด (Acid soil) หมายถึง ดินที่มีค่า pH วัดได้ต่ำกว่า 7.0 ดังนั้น ดินเปรี้ยวจัด (Acid sulfate soil) จึงเป็นดินเปรี้ยวหรือดินกรดชนิดหนึ่ง แต่มีความหมายแตกต่างจากดินกรดโดยทั่ว ๆ ไป หรือดินกรดธรรมดา หนังสือคำบัญญัติศัพท์ ภูมิศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. 2523) ได้ให้ความหมายว่า acid sulfate soil หมายถึง ดินเปรี้ยวจัด ดินกรดจัด หรือดินกรดกำมะถัน

ดินเปรี้ยวจัด เป็นดินที่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากพื้นที่ดินเปรี้ยวส่วนใหญ่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้และชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอดช่วงฤดูฝนและลักษณะของดินเป็นดินเหนียวจึงจัดใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวให้ผลผลิตข้าวต่ำ แม้สภาพภูมิประเทศทั่วไปเหมาะต่อการทำนาก็ตาม แต่เมื่อเปรียบกับพื้นที่ซึ่งไม่ใช่ดินเปรี้ยวจัดจะให้ผลผลิตเฉลี่ยมากกว่าหลายเท่า ดังนั้นการแก้ไขปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดจึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง เมื่อพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคของดินเปรี้ยวจัด พบว่าความเป็นกรดอย่างรุ่นแรงของดินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของพืชและผลผลิตของพืชตกต่ำ ทำให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารหลักของพืชลดลงหรือมีไม่พอเพียงต่อความต้องการของพืช ธาตุอาหารของพืชที่มีอยู่ในระดับต่ำคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ส่วนธาตุอาหารของพืชบางชนิดมีเกินความจำเป็นซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อการเจริญเติบโนและผลผลิตของพืชที่ปลูก เช่น อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส และความเป็นกรดจัดยังมีผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินและมีประโยชน์ต่อพืชมีปริมาณที่ลดลง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องหาลู่ทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวจัดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเป็นการแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรดินให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และยั่งยืนต่อไป

ประเภทของดินเปรี้ยว

ดินกรดจะมีลักษณะของดินและกระบวนการเกิดดินสามารถแบ่งประเภทของดินได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. ดินเปรี้ยวจัด ดินกรดจัด หรือดินกรดกำมะถัน (Acid sulfate soil) เป็นดินทีเกิดจากการตกตะกอนของน้ำทะเลหรือตะกอนน้ำกร่อย ที่มีสารประกอบของกำมะถันซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดกำมะถันตามกระบวนการธรรมชาติสะสมในชั้นหน้าตัดของดินโดยจะเป็นดินที่มีความเป็นกรดสูง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างรุนแรง เช่นขาดธาตุฟอสฟอรัส ไนโตรเจนแถมยังมีธาตุอาหารบางชนิดเกินความจำเป็นซึ่งส่งผลร้ายหรือเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่น ธาตุเหล็ก อลูมิเนียม เป็นต้น

2. ดินอินทรีย์ หรือโดยทั่วไปเรียกว่า “ดินพรุ” ในประเทศมีดินที่เป็นดินอินทรีย์แพร่กระจายอยู่หนาแน่นอยู่ตามแนวชายแดนหรือเขตชายแดนไทยและมาเลเซียเป็นส่วนใหญ่นอกจากนั้นยังพบโดยทั่ว ๆ ไปในภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ พื้นที่ที่เป็นพื้นที่พรุหรือพื้นที่ดินอินทรีย์นั้น ตามธรรมชาติจะเป็นที่ลุ่มน้ำที่มีน้ำขังอยู่ตลอดทั้งปีซึ่งเกิดจากการทับถมของพืชต่าง ๆ ที่เปื่อยผุพังเป็นชั้นหนาตั้งแต่ 40 เซนติเมตร ไปจนถึงมีความหนาประมาณ 10 เมตร มี่การสลายตัวอย่างช้าๆทำให้กรดอินทรีย์ถูกปล่อยออกมาสะสมอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง ดินชนิดนี้จะมีปริมาณดินเหนียวต่ำ และมีปริมาณธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อพืชอยู่น้อยดินชนิดนี้ที่พบในบริเวณที่ราบลุ่มตามชายทะเลจะมีดินเปรี้ยวจัดแฝงอยู่ในชั้นล่างของดิน ถ้ามีการระบายน้ำออกจากพื้นที่บริเวณพื้นที่พรุจนถึงระดับของดินเปรี้ยวจัดแฝงอยู่จะก่อให้ปัญหาใหม่ตามมาคือจะเกิดเป็นดินกรดกำมะถันขึ้น ทำให้มีปัญหาซ้ำซ้อนทั้งดินเปรี้ยวจัดและดินอินทรีย์ ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นมาอีก

3. ดินกรด หรือดินกรดธรรมดา ดินกรดหรือดินกระธรรมดา เป็นดินเก่าแก่อายุมากซึ่งพบได้โดยทั่วไป ดินกรดเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่เขตร้อนชื้นมีฝนตกชุก ดินที่ผ่านกระบวนการชะล้างหรือดินที่ถูกใช้ประโยชน์มาเป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเนื่องจากดินเหนียวและอินทรีย์วันถุถูกชะล้างไปด้วยมีผลทำให้ความอุดมสมบูรณ์โดยทั่วๆ ไปของดินต่ำจนถึงต่ำมาก นอกจากนี้ดินยังมีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำอีกด้วย


ปัญหาการใช้ทรัพยากรไม่ถูกต้องเหมาะสมตามศักยภาพ

ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่ดินไม่ถูกต้องตามสมรรถนะที่ดิน เกิดขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบอื่นรุกล้ำเข้าไปในเขตพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่สูง และพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตร ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่ดินไม่ถูกต้องตามสมรรถนะที่ดิน ได้แก่ การนำที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรไปใช้เพื่อการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม การสร้างสนามกอล์ฟ และชุมชนเป็นต้น นอกจากนี้ในบางพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรก็มีปัญหา ที่เกิดจากธรรมชาติของทรัพยากรดินเอง ได้แก่ ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินตื้นที่มีกรวดลูกรังปน ดินทรายจัด ดินพรุ รวมทั้งมีการใช้ประโยชน์ที่ดินในกิจกรรมต่างๆ โดยขาดการจัดการที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ อาทิเช่น การผลิตเกลือสินเธาว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การขุดตักดินในที่ดินกรรมสิทธิของเอกชน การบุกรุกทำลายป่าเพื่อทำการเกษตรบนที่สูง และการใช้ที่ดินชายทะเลในภาคตะวันออก เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาในกิจกรรมต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามมมา




สถานการณ์ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโลกเกี่ยวกับดิน

สถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน 

ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน มีสาเหตุทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและเกิดจากการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การชะล้างพังทลายของดิน ดินขาดอินทรีย์ และปัญหาที่เกิดจากสภาพธรรมชาติของดินร่วมกับการกระทำของมนุษย์ เช่น ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินอินทรีย์ (พรุ) ดินทรายจัด และดินตื้น พื้นที่ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมของประเทศไทย ได้แก่ การชะล้างพังทลายของดิน 108.87 ล้านไร่ พื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินมากที่สุดคือ ภาคเหนือ ดินขาดอินทรียวัตถุ 98.70 ล้านไร่ ปัญหาดินขาดอินทรียวัตถุประมาณร้อยละ 77 อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม 209.84 ล้านไร่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนดินเค็ม ดินกรดและดินค่อนข้างเป็นทราย อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องตามศักยภาพ คิดเป็นพื้นที่ 35.60 ล้านไร่ 

ตารางที่ 1 พื้นที่มีปัญหาทรัพยากรดินของประเทศไทยแยกรายภาค

สภาพปัญหาทรัพยากรดิน

พื้นที่ (ล้านไร่)

ภาคเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคใต้

ภาคกลาง

รวม

1. ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน

53.96

17.87

10.84

26.20

108.87

2. ปัญหาดินขาดอินทรียวัตถุ

10.20

75.70

1.90

10.90

98.70

3. ดินที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม

71.39

75.30

25.75

37.40

209.84

3.1 ดินเค็ม

-

17.80

2.30

1.60

21.70

3.2 ดินเปรี้ยวจัด

-

-

0.89

3.28

4.17

3.3 ดินกรด

12.38

27.11

13.56

11.22

64.27

3.4 ดินอินทรีย์ (พรุ)

-

-

0.27

-

0.27

3.5 ดินทรายจัด

0.86

2.60

1.21

2.30

6.97

3.6 ดินค่อนข้างเป็นทราย

1.54

30.85

2.56

4.65

39.60

3.7 ดินตื้น

13.09

15.53

3.11

9.24

40.97

3.8 ดินบนพื้นที่สูง

55.90

8.50

15.40

16.30

96.10

4. การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถูกต้องตามศักยภาพ

6.20

21.20

4.30

3.90

35.60

หมายเหตุ: 1) พื้นที่หนึ่งๆ อาจมีปัญหาทรัพยากรดินบางชนิดซ้อนทับกันอยู่ในที่เดียวกัน                          2) ปรับปรุงข้อมูลปี พ.ศ. 2545

ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน 2546

การดำเนินการเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรดินให้เป็นปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการกำหนด  แนวทางการอนุรักษ์ดินและน้ำ การพัฒนาระบบข้อมูลดิน การศึกษาวิจัย ทำแปลงสาธิตในพื้นที่เกษตรและ  ให้ความรู้ เผยแพร่แนวทางการจัดการทรัพยากรดินที่เหมาะสม และถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้การดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ การฟื้นฟูและอนุรักษ์ดินเพื่อการเกษตร     มีความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2540-2546 ในการฟื้นฟูดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินขาดอินทรีย์วัตถุ และดินชะล้างพังทลาย จำนวน 10.75 ล้านไร่ 

การใช้ที่ดิน

        การใช้ที่ดินนั้นไม่คงที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กรมพัฒนาที่ดินได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของประเทศไทยโดยการแปลภาพถ่ายทางอากาศ และข้อมูลดาวเทียม และการตรวจสอบในสนาม ในปี พ.ศ. 2523 2529 2541 และ 2544 พบว่าในขณะที่พื้นที่ป่าไม้ลดลง พื้นที่เกษตรกรรมเพิ่มขึ้น รวมทั้งพื้นที่ชุมชนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 8 เท่าตัวจาก พ.ศ. 2523 อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2529-พ.ศ. 2541 พื้นที่นาได้ลดลงประมาณ 3.5 ล้านไร่ พื้นที่นาที่ลดลงนั้นถูกเปลี่ยนสภาพไปเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย สนามกอล์ฟ รีสอร์ท หรือที่พักผ่อนหย่อนใจจำนวนมาก แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2544 พื้นที่นาได้เพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 ล้านไร่ เนื่องจากหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานกลับสู่ภาคเกษตรมากขึ้น

       สำหรับการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร ภาครัฐได้มีการปฏิรูปที่ดินมาตั้งแต่ พ.ศ. 2518 แต่จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังยากที่จะกล่าวว่าประสบความสำเร็จ หนึ่งในปัญหาหลายๆ ประการที่เกิดขึ้นก็คือ บุคคลที่ได้รับการจัดสรรที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินมิใช่เกษตรกรที่ยากจนขาดแคลนที่ดินทำกิน แต่กลับกลายเป็นบุคคลอื่น เช่น พ่อค้า นักธุรกิจ มากไปกว่านั้น เกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินส่วนใหญ่นำที่ดินที่ได้รับไปจำนองหรือขายทิ้ง ทำให้สูญเสียที่ดินไปเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทยการปฏิรูปที่ดินเป็นเพียงนโยบายที่นำเอาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมมาให้เกษตรกรทำประโยชน์ แต่มิได้มีมาตรการที่ทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน เมื่อการปฏิรูปที่ดินไม่นำมาซึ่งการกระจายการถือครองที่ดิน ภาพที่ขัดแย้งภายในสังคมไทยก็คือว่ามีบุคคลจำนวนน้อยถือครองที่ดินปริมาณมหาศาล แต่เกษตรจำนวนมากถือครองที่ดินเพียงเล็กน้อย เมื่อปราศจากมาตรการที่ทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน ความพยายามที่จะเข้าครอบครองที่ดินก็เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั้งโดยวิธีการที่ถูกและผิดกฎหมาย และเป็นแรงกดดันหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรรายย่อยสูญเสียที่ดินไป สำหรับผลการดำเนินงานปฏิรูปที่ดินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518-2547 ได้มอบหนังสือให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) ประเภทที่ดินของรัฐเป็นพื้นที่ 24.41 ล้านไร่

       สำหรับพื้นที่ถือครองทางการเกษตรของประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2525-2542 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ในปี พ.ศ. 2525 มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรประมาณ 123.59 ล้านไร่ และในปี พ.ศ. 2542 มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรประมาณ 131.34 ล้านไร่ พื้นที่ถือครองทางการเกษตรมีแนวโน้มลดลงโดยตลอด สำหรับจำนวนครัวเรือนเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (รูปที่ 2)

มูลค่าความเสียหาย 

         การประเมินการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินสำหรับการศึกษานี้จะพิจารณาเฉพาะปัญหาสำคัญ ได้แก่

1) ปัญหาการชะล้างพังทลายที่ทำให้สูญเสียธาตุอาหารของพืช

2) ปัญหาดินเค็ม โดยคิด มูลค่าการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรที่ดินเป็นรายปี และ

3) ปัญหาดินถล่ม โดยคิดจาก มูลค่าความเสียหายจากดินถล่ม

1)   การประเมินการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินที่เกิดจากการชะล้างพังทลาย โดยใช้ปุ๋ยเพื่อทดแทนความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดินที่สูญเสียไป (Replacement cost) เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ที่เกิดการสูญเสียดินประมาณ 108.87 ล้านไร่ ในการศึกษานี้จะพิจารณาเฉพาะพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ เนื่องจากมีอัตราการชะล้างพังทลายดินในระดับปานกลางถึงรุนแรงมาก หรือมีอัตราการสูญเสียดินประมาณ 2-50 ตันต่อไร่ต่อปี ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าการสูญเสียธาตุอาหาร คือ ข้อมูลอัตราการสูญเสียปุ๋ยในพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ในแต่ละภาค ตามชนิดของปุ๋ย จากการสำรวจการพัดพาปุ๋ยของพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ในแต่ละภาคของ    เดชา และคณะ (2540) ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่จากสถิติการเกษตรรายปีจาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และข้อมูลราคาปุ๋ยยูเรีย (ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต และปุ๋ยโปแตสเซี่ยมคลอไรด์ (ข้อมูลสถิติปริมาณและมูลค่าการนำเข้า ของกรมศุลกากร) จากการคำนวณต้นทุนการสูญเสียธาตุอาหารจากการพังทลายของดินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5,015 ล้านบาทต่อปี

2) การประเมินการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์จากดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาดินเค็มส่วนหนึ่งเกิดมาจากการใช้ที่ดิน การปลูกพืช การสร้างอ่างเก็บน้ำ การตัดถนน การตัดไม้ทำลายป่า กิจกรรมเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำใต้ดิน คือ ยกระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้นทำให้ละลายเกลือซึ่งอยู่ตามธรรมชาติใต้ดินขึ้นมาบนผิวดินจึงทำให้เกิดปัญหาดินเค็มส่งผลให้ไม่สามารถปลูกพืชได้ ในบางพื้นที่ปลูกพืชได้แต่ผลผลิตลดลง และรายได้ลดลง เป็นต้น พื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่ากับ 17.8 ล้านไร่ แบ่งเป็น 3 ระดับความเค็ม เนื่องจากพื้นที่ดินเค็มระดับน้อยเป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกพืชบางชนิดได้และเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินได้เผยแพร่ความรู้และวิธีการในการจัดการพื้นที่ดินเค็ม ดังนั้น ในการศึกษานี้จะคำนวณต้นทุนความเสียหายจากดินเค็มระดับมากและปานกลางซึ่งมีพื้นที่รวมกัน 5.2 ล้านไร่ ข้อมูลต้นทุนความเสียหายจากดินเค็มจากการศึกษาของ Hall, N. et al. (2004) ที่ศึกษาผลกระทบจากดินเค็มต่อรายได้ทางการเกษตรในจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดนครราชสีมา ในช่วงเวลา 30 ปี คือ รายได้ลดลง 484.14 บาทต่อไร่ต่อปี (ราคา ณ ปี พ.ศ. 2547) จากการคำนวณต้นทุนการสูญเสียรายได้จากดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2,518 ล้านบาทต่อปี

3) ธรณีพิบัติภัย ได้แก่ ดินถล่ม แผ่นดินไหว หลุมยุบ และการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายแก่ประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติ และเศรษฐกิจ ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะแผ่นดินถล่ม ซึ่งร้อยละ 21 ของพื้นที่ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อดินถล่มในระดับสูงดินถล่มเกิดจากสาเหตุตามธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ โดยกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนเร่งให้เกิดมากขึ้น เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การปลูกพืชในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง การตั้งบ้านเรือนตามหุบเขาหรือตามทางน้ำ การปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำ เป็นต้น สำหรับการประเมินมูลค่าความเสียหายจากดินถล่มเป็นมูลค่าความเสียหายที่รวบรวมโดยกรมทรัพยากรธรณี ครอบคลุมความเสียหายของทรัพย์สิน บ้านเรือน ถนน สถานที่ราชการ และทรัพย์สินอื่นๆ แต่ไม่ได้คำนึงถึงความสูญเสียชีวิต พบว่า มีมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยเท่ากับ 157 ล้านบาทต่อปี รวมมูลค่าความเสียหายโดยรวมด้านทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน จากปัญหาการพังทลายของหน้าดิน ปัญหาดินเค็ม และปัญหาดินถล่ม พบว่า มีมูลค่าความเสียหายเท่ากับ 7,477 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ปัญหาในการคำนวณส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาข้อมูล กรณีพื้นที่ดินเค็มเป็นข้อมูลที่เผยแพร่มา

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 จนปัจจุบันก็ยังอ้างข้อมูลดังกล่าว ถึงแม้ว่าจากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านดิน พบว่า กิจกรรมของมนุษย์มีส่วนทำให้ดินเค็มแพร่กระจาย เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การสร้างแหล่งน้ำ เป็นต้น ดังนั้น จึงเสนอให้มีการจัดทำข้อมูลดินเค็มที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันทั้งที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์หรือเกิดตามธรรมชาติ สำหรับกรณีการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากการพังทลายของดิน ไม่ได้พิจารณาถึงปริมาณปุ๋ยที่ใส่เข้าไปในแต่ละปี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของดินในระยะยาวที่เกิดจากวิธีการทางเขตกรรม การสูญเสียหน้าดินที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาการตื้นเขินของแหล่งน้ำ และกรณีของภัยพิบัติดินถล่มเป็นเพียงมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สิน ยังไม่ได้คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดต่อระบบนิเวศ.

ทัศนคติของประชาชน  

          สำหรับผลสำรวจทัศนคติของประชาชน พบว่า ประชาชนร้อยละ 4.0 มีความเห็นว่าปัญหาการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นปัญหาสำคัญที่สุดของประเทศ


ดินถล่ม และโคลนถล่ม (Landslides and Mudslides)

โคลนถล่ม เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาจากการเคลื่อนที่ของมวล เป็นกระบวนการการเคลื่อนตัวมวลของหิน ดิน ทราย ลงมาตามแนวของความลาดชัน โดยอยู่ภายใต้แรงดึงดูดของโลก ซึ่งจะอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น น้ำ ลม ธารน้ำแข็ง เป็นตัวพัดพาและช่วยเสริมการย้ายมวล สำหรับในประเทศไทยการเกิดเหตุการณ์ดินถล่มนั้นส่วนใหญ่มีตัวกลางสำคัญในการเคลื่อนย้ายมวลของดิน คือ น้ำ โดยมากแล้วจะมีสาเหตุหลักมาจากการเกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วม ทำให้ดินไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้จึงเกิดกาวถล่มลงมาในส่วนของการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ดินถล่มนั้นเป็นสิ่งสำคัญดังนั้นผู้เขียนจะบอกถึงวิธีการปฏิบัติตนและเตรียมรับมือก่อนเกิดเหตุการณ์ดินถล่มเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาชีวิตรอดได้

1.ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับดินถล่มก่อน ว่าเป็นการถล่มแบบใด เป็นการเคลื่อนย้ายของหิน การเคลื่อนของแผ่นดิน หรือการสไลด์ลงมาตามแนวลาดชัน เป็นการถล่มขนาดเล็กหรือใหญ่ ค่อยเกิดการเคลื่อนตัว หรือเกิดขึ้นฉับพลัน มีสาเหตุมาจากอะไร พายุ แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ไฟป่า หรือเกิดมาจากกิจกรรมของมนุษย์

2.รู้จักสังเกต และให้ความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวอยู่ตลอดไม่ว่าท่านจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดดินถล่ม หรือเดินทางผ่านเส้นทางบริเวณที่อาจเกิดดินถล่ม สิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสนใจคือลักษณะของภูมิประเทศและธรณีวิทยาของดินบริเวณนั้น นอกจากนี้ยังต้องสังเกตในเรื่องของ

- การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศโดยรอบ การเคลื่อนไหวของดินหรือมีการสไลด์ของดินขนาดเล็กเกิดขึ้น

 -มีรอยแตกร้าวปรากฏขึ้นบริเวณผนังของตัวบ้าน

 -รอยแตกร้าวขยายขนาดเพิ่มขึ้นในบริเวณถนนหรือบริเวณอาคารที่มีรอยแตก

-รั้ว กำแพง เสาไฟ และต้นไม้ มีการล้มเอียงเกิดขึ้น

-เริ่มรู้สึกได้ถึงการสั่นสะเทือนของพื้นดินบริเวณใต้เท้าของท่าน

-มีเสียงผิดปกติเกิดขึ้น เช่น เสียงการหักของต้นไม้ การแตกของหิน และเสียงการเคลื่อนย้ายและการไหลของโคลนเกิดขึ้น

-เสียงกระหึ่มหลังสุดจะเป็นเสียงที่บ่งบอกถึงการถล่มของดินเกิดขึ้น

3.อพยบหรือเคลื่อนย้ายมาอยู่ในบริเวณที่โล่งแจ้งและหลีกเลี่ยงบริเวณเส้นทางที่ดินโคลนถล่ม นอกจากนี้ท่านยังต้องตื่นตัวต่อการรับมือจากเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลาอย่าวางใจเพราะเคยมีผู้เสียขีวิตจากการนอนโดยไม่ระวังมาแล้วหลายราย ค่อยสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบๆข้างอยู่เสมอ ต้องติดตามข่าวสารจากวิทยุพกพาเกี่ยวกับการรายงานของปริมาณน้ำฝนและการเข้าช่วยเหลือของหน่วยงานกู้ภัย

-การรับฟังข่าวสารเกี่ยวกับปริมาณน้ำฝนจะช่วยท่านได้ เพราะการที่มีฝนตกอย่างหนักและฉับพลันถือเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์ดินถล่ม

4.สุดท้ายเพื่อความปลอดภัยต่อท่านและครอบครัวหากพิจารณาแล้วว่าบริเวณที่ท่านอาศัยเป็นพื้นที่อ่อนไหวและมีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ดินถล่ม ท่านควรย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการยืนยันถึงความปลอดภัยจากหน่วยงานของรัฐบาล

นิยามของโคลนถล่ม

ดิน ถล่มหรือโคลนถล่ม คือ การเคลื่อนตัวของมวลดินและหินภายใต้อิทธิพลแรงโน้มถ่วงของโลก สาเหตุหลักของดินถล่มหรือโคลนถล่ม คือ ดินบริเวณนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักของตัวเองได้อีกต่อไป ดินถล่มมักเกิดพร้อมกับหรือตามมาหลังจากน้ำป่าไหลหลาก เกิดขึ้นในขณะหรือภายหลังพายุฝนที่ทำให้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องอย่างรุนแรง กล่าวคือ เมื่อฝนตกต่อเนื่องน้ำซึมลงในดินอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงจุดหนึ่งดินจะอิ่มตัวชุ่มด้วยน้ำยังผลให้น้ำหนักของมวลดินเพิ่มขึ้น และแรงยึดเกาะระหว่างมวลดินลดลง ระดับน้ำใต้ผิวดินเพิ่มสูงขึ้นทำให้แรงต้านทานการเลื่อนไหลของดินลดลง จึงเกิดการเลื่อนไหลของตะกอนมวลดินและหิน ดังนั้น โอกาสที่เกิดดินถล่มหรือโคลนถล่มจึงมีมากยิ่งขึ้นการเคลื่อนตัวของดินอาจ เกิดอย่างช้าๆหรืออย่างฉับพลัน น้ำหนักของมวลดินที่ถล่มลงมามีกำลังมหาศาลที่ทำลายสิ่งต่าง ๆ ที่ขวางทางและก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินการเกิดดินถล่มเกิด ขึ้นได้หลายลักษณะลักษณะการเคลื่อนตัวได้ 3 ชนิดคือ

1. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างแผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างช้าๆ เรียกว่า Creep เช่น Surficial Creep

2. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วเรียกว่า Slide หรือ Flow เช่น Surficial Slide

3. แผ่นดินถล่มที่เคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน เรียกว่า Fall Rock Fall

สาเหตุของดินถล่ม/โคลนถล่ม จำแนกได้ดังต่อไปนี้

1. สาเหตุจากมนุษย์ (Manmade Causes) กิจกรรมที่มนุษย์ทำในบริเวณที่ลาดชัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดดินถล่มหรือโคลนถล่ม เช่น การก่อสร้างในบริเวณเชิงเขาที่ลาดชัน โดยไม่มีการคำนวณด้านวิศวกรรมที่ดีพอการเกษตรในพื้นที่ลาดชันเชิงเขา การกำจัดพืชที่ปกคลุมดินและการตัดไม้ทำลายป่า กิจกรรมเหล่านี้ส่งผลให้ พื้นที่ดังกล่าวมีความลาดชันเพิ่มขึ้นเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการไหลของน้ำ ผิวดินและเปลี่ยนแปลงระดับน้ำบาดาล ซึ่งอาจก่อให้เกิดดินถล่มหรือโคลมถล่ม การขุดหรือตัดถนนในบริเวณที่ลาดเชิงเขาอาจก่อให้เกิดความชันของพื้นที่มาก ขึ้น การขุดเหมืองและการระเบิดหินมักจะทำให้ดินมีความลาดชันเพิ่มขึ้น การทำการเกษตรในบริเวณที่ลาดชัน เกษตรกรก็จำเป็นที่จะต้องกำจัดวัชพืชและอาจปรับพื้นที่ให้มีลักษณะขั้นบันได หรือธุรกิจการตัดไม้ทำลายป่า กิจกรรมเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการไหลของน้ำบริเวณผิวดิน กล่าวคือน้ำจะไหลผ่านหน้าดินอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดการชะล้างหน้าดินเนื่องจากป่าถูกทำลาย ดินขาดรากไม้ยึดเหนี่ยวนอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการไหลของน้ำบริเวณผิว ดินยังส่งผลต่อระดับน้ำบาดาลอีกด้วย ในการทำชลประทาน จะมีปริมาณน้ำส่วนหนึ่งที่ซึมออกจากคลองชลประทานและไหลซึมลงไปใต้ดิน ทำให้ระดับน้ำบาดาลเพิ่มสูงขึ้น มวลดินมีน้ำหนักมากขึ้นและอาจเป็นสาเหตุให้เกิดดินถล่มในที่สุด การเพิ่มระดับน้ำบาดาลอาจมีสาเหตุมาจากการรั่วของท่อน้ำ บ่อหรืออ่างเก็บน้ำ หรือการปล่อยน้ำทิ้งจากที่ต่าง ๆ

2. สาเหตุจากธรรมชาติ (Natural factors) เหตุการณ์ทางธรรมชาติก็เป็นสาเหตุให้เกิดดินถล่มหรือโคลนถล่มได้เช่นกัน เช่น ฝนตกหนัก การเกิดดินถล่มในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะมีฝนเป็นปัจจัยเร่งที่สำคัญเสมอ   การละลายของหิมะจะไปเพิ่มระดับน้ำใต้ผิวดิน และน้ำหนักของดินอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำเนื่องจากน้ำขึ้นน้ำลง การลดระดับน้ำในแม่น้ำและอ่างเก็บน้ำ การกัดเซาะของดินจากกระแสน้ำในแม่น้ำ ลำธาร หรือจากคลื่นซัดทำให้ความหนาแน่นของมวลดินลดลง การผุพังของมวลดินและหิน การสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ในบริเวณที่ภูเขาไฟยังไม่สงบ เถ้าภูเขาไฟหรือลาวาจะเคลื่อนตัวเป็นมวลดินขนาดใหญ่ที่มีความหนาแน่นต่ำเมื่อเกิดฝนตกหนัก จึงมีโอกาสที่เกิดดินถล่มหรือโคลนถล่มนอกจากนี้ การเกิดดินถล่มอาจมีสาเหตุจากการเกิดภัยธรรมชาติหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ในบางกรณี ภัยธรรมชาติเพียงภัยหนึ่งอาจส่งผลให้เกิดภัยต่าง ๆ ตามมาได้ ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวซึ่งทำให้เกิดดินถล่มและเขื่อนแตก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงในพื้นที่ท้ายน้ำที่มีระดับต่ำกว่า เหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้อาจส่งผลกระทบแตกต่างไป จากเหตุการณ์ที่มีสาเหตุการเกิดจากภัยพิบัติเพียงภัยเดียว

ลักษณะพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดภัยโคลนถล่มและสัญญาณเตือนภัย

พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดภัยโคลนถล่ม หมายถึง พื้นที่และบริเวณที่อาจจะเริ่มเกิดการเลื่อนไหลของตะกอนมวลดินและหินที่อยู่ บนภูเขาสู่ที่ต่ำในลำห้วยและทางน้ำขณะเมื่อมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ลักษณะของพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม มีข้อสังเกตดังนี้

  • พื้นที่ตามลาดเชิงเขาหรือบริเวณที่ลุ่มใกล้เชิงเขาที่มีการพังทลายของดินสูง

  • พื้นที่เป็นภูเขาสูงชันหรือหน้าผาที่เป็นหินผุพังง่ายและมีชั้นดินหนาจากการผุกร่อนของหิน

  • พื้นที่ที่เป็นทางลาดชัน เช่น บริเวณถนนที่ตัดผ่านหุบเขา บริเวณลำห้วย บริเวณเหมืองใต้ดินและเหมืองบนดิน

  • บริเวณที่ดินลาดชันมากและมีหินก้อนใหญ่ฝังอยู่ในดิน โดยเฉพาะบริเวณที่ใกล้ทางน้ำ เช่น ห้วย คลอง แม่น้ำ

  • ที่ลาดเชิงเขาที่มีการขุดหรือถม

  • สภาพพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่มีการทำลายป่าไม้สูง ชั้นดินขาดรากไม้ยึดเหนี่ยว

  • เป็นพื้นที่ที่เคยเกิดดินถล่มมาก่อน

  • พื้นที่สูงชันไม่มีพืชปกคลุม

  • บริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงความลาดชันของชั้นดินอย่างรวดเร็วซึ่งมีสาเหตุมาจากการก่อสร้าง

  • บริเวณพื้นที่ลาดต่ำแต่ชั้นดินหนาและชั้นดินอิ่มตัวด้วยน้ำมาก

 

บรรณานุกรม

 

รศ. ดร. วินัย วีระวัฒนานนท์ และนางบานชื่น สีพันผ่อง. ประชากรกับสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ ๔ .กรุงเทพฯ :อักษรเจริญทัศน์ อจท, ๒๕๕๑.

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99

http://oss101.ldd.go.th/web_soils_for_youth/s_compo2.htm

https://www.ldd.go.th/ofsweb/thaisoil/p11.htm

http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/3/science/bio3/indexnan6.htm

http://www.panya4u.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99/

http://maneeratgeog29.blogspot.com/2012/06/blog-post.html?m=1

https://sites.google.com/site/thapkungch/home/din-thlm-laea-kholn-thlm-landslides-and-mudslides

 https://scontent.fbkk5-8.fna.fbcdn.net/v/t34.0-12/26942971_780800072114256_474967205_n.png?oh=0a9767ad13d9d2d6ddec679a68c7d010&oe=5A65709B


ภาคผนวก

รูปภาพ

https://scontent.fbkk5-8.fna.fbcdn.net/v/t34.0-12/26941196_780799258781004_182908039_n.png?oh=0c26b5589ba306e2d35ce3b0c5d277a1&oe=5A663CA3

“ความแห้งแล้งทำให้ปลาตาย”

https://scontent.fbkk5-8.fna.fbcdn.net/v/t34.0-12/26943250_780798635447733_134438754_n.png?oh=da809e395a5cd1be8e3384f6b7d74c25&oe=5A654064

“ความแห้งแล้งทำให้ได้ผลผลิตน้อยลง”


บทความที่ได้รับความนิยม