ประเทศภูฏาน

  

ประเทศภูฏาน

ไฟล์:Flag of Bhutan.svg    ไฟล์:Emblem of Bhutan.svg

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/df/Bhutan_in_its_region.svg/372px-Bhutan_in_its_region.svg.png

        ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศภูฎาน คือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) ภูฏาน (อ่านว่า พู-ตาน) มีสมญาว่า “ดินแดนของมังกรสายฟ้า” (Druk Tsendhen) หรือ "Land of the Thunder Dragon" เนื่องจากชื่อภูฏานในภาษาถิ่นคือ Druk Yul (ออกเสียงว่า ดรุก-อือ) แปลว่า “ดินแดนของมังกร” ซึ่งมีที่มาจากเรื่องเล่าว่า ตอนต้นศตวรรษที่ 11 มีลามะชาวทิเบตองค์หนึ่งเดินทางมาหาทำเลที่ตั้งวัดใหม่ในตอนกลางของทิเบต เมื่อมาถึงสถานที่สร้างวัด ท่านได้ยินเสียงฟ้าร้อง เสียงดังกัมปนาทเหมือนเสียงคำรามของมังกร (สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนบนเทือกเขาหิมาลัย)  ท่านจึงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า Druk (มังกร) และตั้งชื่ออาศรมที่ใช้เป็นสถานที่สอนศาสนาว่า Drukpa เมื่อชาวภูฏานได้ครอบครองดินแดนในแถบนี้จึงใช้ชื่อประเทศว่า Druk Yul และเรียกตัวเองว่า ดรุกปาส-Drukpa (Drukpas)

สำหรับชื่อประเทศภูฏาน(Bhutan) นั้นมีที่มา 2 แห่งคือ ประการแรก คำว่า “ภูฏาน” มาจากคำสมาสในภาษาสันกฤต จากคำว่า ภู+อุทาร มีความหมายว่า “แผ่นดินบนที่สูง” ที่มาอีกแบบจากอินเดีย ซึ่งในอดีตเรียกภูฏานว่า Bhotanta หมายถึงดินแดนทางตอนเหนือของทิเบต

ภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็กอยู่ในทวีปเอเชีย ไม่มีทางออกทะเล ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัยระหว่างจีนกับอินเดีย พรมแดนทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับทิเบต พรมแดนประเทศที่เหลือติดกับอินเดีย ด้านทิศตะวันออกติดกับแคว้นอรุณาจัลประเทศ ทิศใต้ติดกับแคว้นอัสสัมและเบงกอลตะวันตก ทิศตะวันตกติดกับสิกขิม ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของภูฏานเป็นภูเขา ยอดเขาสูงที่สุดอยู่ติดพรมแดนทิเบต คือ Gangkhar Puensum Peak สูงจากระดับน้ำทะเล 7,541 เมตร


ลักษณะทางภูมิศาสตร์

     ประเทศภูฏาน ตั้งอยู่ในแถบขุนเขาหิมาลัยระหว่างอินเดียกับจีน (ติดกับทิเบต) เป็นประเทศที่มีเทือกเขาเป็นจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามว่า “สวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย” เดิมเคยผูกพันอยู่กับทิเบต แต่แยกออกมาเป็นรัฐอิสระตั้งแต่ ค.ศ.1630

ภูฏานเป็นประเทศเล็กๆ มีพื้นที่ 47,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย มีสถานที่ท่องเที่ยวเหมาะกับคนที่ชอบธรรมชาติงดงามและวัฒนธรรมดั้งเดิม เทือกเขาหิมาลัยอันปกคลุมไปด้วยหิมะตลอดทั้งปีทอดตัวยาวผ่านตอนบนของภูฏานทั้งแถบ ลดหลั่นลงมาบรรจบกันเป็นหุบเขาในบริเวณตอนกลางของประเทศ แล้วค่อยๆ ลดระดับลงจนจรดที่ราบทางตอนใต้ที่ต่อเนื่องมาจากอินเดีย ทำให้ภูฏานมีภูมิประเทศหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันสุดขั้ว ตั้งแต่ยอดเขาสีขาวโพลนที่สูงกว่า 7,000 เมตรทางตอนเหนือไปจนถึงที่ราบลุ่มเขียวขจีสูง 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลตามแนวขอบประเทศทางตอนใต้

ทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับ ทิเบต (จีน)

ทิศใต้ ติดกับ แคว้นอัสสัมและเบงกอลตะวันตก (อินเดีย)

ทิศตะวันออก ติดกับ แคว้นอรุณาจัลประเทศ (อินเดีย)

ทิศตะวันตก ติดกับ แคว้นสิกขิม (อินเดีย)

ภูฏาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล แต่มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากยอดเขาหิมาลัย ตัดผ่านประเทศตามแนวเหนือ-ใต้ ความอุดมสมบูรณ์ของภาคกลางและใต้ ส่งผลให้ชาวภูฏานส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณหุบเขาตอนกลางของประเทศ (ระดับความสูง 1,100 ถึง 2,600 เมตร) และบริเวณตอนใต้ (ระดับความสูง 300 ถึง 1,600 เมตร) เทือกเขาสูงชันจากเหนือไปใต้ที่ลดหลั่นลงมาจากหิมาลัยเป็นกำแพงกั้นระหว่างหุบเขาตอนกลางต่างๆ ตัดขาดชุมชนออกจากกัน ทิ้งให้หมู่บ้านส่วนใหญ่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่สามารถไปมาหาสู่ระหว่างกันได้สะดวก

เขตที่อุดมสมบูรณ์และมีประชากรหนาแน่นมากที่สุดของประเทศคือ บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ เขตเชิงเขาหิมาลัยที่ความสูงระหว่าง 300-1,600 เมตร ก่อนหน้าที่จะปิดพรมแดนด้านที่ติดกับทิเบตในปี ค.ศ. 1959 ทิวเขาสูงในหิมาลัยถือเป็นเส้นทางหลักในการสัญจรไปยังหลายๆท้องที่ ทำให้ภูฏานกับทิเบตมีการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันมาแต่ครั้งโบราณ ช่วงครึ่งแรกในศตวรรษที่ 20 ท้องที่บางแห่งที่เข้าถึงได้ง่ายในเขตภาคใต้ของภูฏานมีชาวเนปาลผู้คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตในที่ลุ่ม เดินทางเข้ามาตั้งรกรากอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ต่อมาปีค.ศ.1962 รัฐบาลภูฏานได้สร้างถนนราดยางสายเหนือ-ใต้ เพื่อเชื่อมทิมพูเข้ากับพุนโซลิงในภาคตะวันตกเฉียงใต้สำเร็จ 

ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่  

     - เทือกเขา พบในตอนเหนือของประเทศ ยอดเขาที่สูงที่สุดของภูฏาน คือ Gangkhar Puensum อยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มณฑลกาซา สูงกว่า 3 ระดับน้ำทะเล 7,570 เมตร (24,836 ฟุต)  

     - ที่ลาดเชิงเขา พบทางตอนกลางของประเทศ  

     - ที่ราบ พบในตอนใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งชุมทางของแม่น้ำหลาย สายจากเทือกเขารอบประเทศ ไหลลงทิศใต้ไปสู่ประเทศอินเดีย จุดต่ำสุดของ ภูฏาน อยู่ที่แม่น้ำแดรงเม (Drangme Chhu) สูงกว่าระดับน้ำทะเล 97 เมตร (318.24 ฟุต)  

พื้นดินของภูฏานอุดมด้วยป่า คิดเป็นร้อยละ 72.5 ของผืนดินทั้งหมด มีการกำหนดกฏหมายไม่ให้สัดส่วนป่าไม้ต่ำกว่าร้อยละ 60 ทั้งนี้ป่าไม้ใน ภูฏานมีหลายประเภท ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังเป็น แหล่งพลังงานสำคัญของภูฏาน  

ประเทศภูฏานมีระบบแม่น้ำสี่สายหลัก แม่น้ำเหล่านี้ล้วนไหลจากเหนือลงใต้ เข้าสู่แม่น้ำ Brahmaputra ในอินเดีย น้าพาซึ่งความอุดมสมบูรณ์สู่ ตอนกลางและตอนใต้ของประเทศภูฏาน โดยแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ Drangme Chuu  ซึ่งมีแม่น้ำทอดรวมกันหลายสาย 

  

ภูมิอากาศ

สภาพอากาศของภูฏานค่อนข้างหลากหลาย มีอุณหภูมิตั้งแต่ 15-30 องศา เซลเซียส เนื่องจากมีภูเขาสูง และยังมีอิทธิพลจากลมมรสุมของอินเดีย โดยทางเหนือของภูฏานจะมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี แม้จะเป็นฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด ส่วนตอนกลางจะมีอากาศอบอุ่น และ ตอนใต้จะเป็นแบบประเทศเขตร้อน อากาศร้อนชื้นตลอดปี 

ฤดูกาลของภูฏานมี 4 ฤดู ประกอบด้วย      

  1. ฤดูใบไม้ผลิ มักจะมีอากาศแห้ง ตั้งแต่ต้นมีนาคม - กลางเมษายน       

  2. ฤดูร้อน ตั้งแต่กลางเมษายน - ปลายกันยายน มีฝนประปรายถึง ปลายมิถุนายน หลังจากนั้นฝนจะตกหนักขึ้น       

  3. ฤดูใบไม้ร่วง ตั้งแต่ปลายกันยายน - ปลายพฤศจิกายน อากาศ แจ่มใสและอาจมีหิมะตกในที่สูง       

  4. ฤดูหนาว ตั้งแต่ปลายพฤศจิกายน - สิ้นมีนาคม อากาศหนาวเย็น มีมรสุมจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ท้าให้มีลมเย็นตามที่สูง เป็นที่มาของ ฉายา Drukyul แปลว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า  

ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน ป่าไม้ และเหมืองแร่


การเมืองการปกครอง

เคยใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551 ภูฏาน ได้มีการจัดการเลือกตั้งครั้งแรก พร้อมกับเปลี่ยนมาใช้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีคณะองคมนตรี เป็นที่ปรึกษาและสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ซงดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 นับเป็นปีที่ 100 ของการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  

โครงสร้างการปกครอง

อำนาจบริหาร มีนายกรัฐมนตรีจากการคัดเลือกโดยรัฐสภา เป็นหัวหน้าฝ่าย บริหาร พระมหากษัตริย์เป็นผู้เสนอชื่อคณะรัฐมนตรี (Lhengye Shungtsog) ให้รัฐสภาอนุมัติ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี นอกจากนั้นยังมีสภา  ให้ค้าปรึกษา (Royal Advisory Council หรือ Lodoi Tsokde) สมาชิกสภา ให้ค้าปรึกษามาจากการเสนอชื่อของพระมหากษัตริย์  

อำนาจนิติบัญญัติ ใช้ระบบ 2 สภา (Bicameral Parliament) ประกอบด้วย  

   - National Council สมาชิกไม่มีการสังกัดพรรค (Non-partisan National Council) จ้านวน 25 ที่นั่ง โดย 20 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ ละ 20 เขตเลือกตั้ง (Dzongkhags) และพระมหากษัตริย์เป็นผู้เสนอชื่อสมาชิกอีก 5 ที่นั่ง วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี  

   - รัฐสภา (National Assembly) สมาชิกจ้านวน 47 ที่นั่ง มาจากการ เลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี  

อำนาจตุลาการ ศาลสูงสุด ได้แก่ ศาลฎีกา (Supreme Court of Appeal) พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษา                        

พรรคการเมือง

Bhutan Peace and Prosperity Party   People’s Democratic Party        

พระมหากษัตริย์

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก (His Majesty King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck)   

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ี เคซาร์ นัมเกล วังชุก


นายกรัฐมนตรี H.E. Lyonchhen Tshering Tobgay  

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ H.E. Lyonchhen Tshering Tobgay

บทบาทของรัฐบาล ต่อระบบเศรษฐกิจลดน้อยลงเมื่อเทียบกับยุคการปกครอง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน รัฐบาลดำเนิน นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบตะวันตกท้าให้รัฐเป็นเพียงผู้ควบคุม กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ส่วนเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ   

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงมีบทบาทในการควบคุมอุตสาหกรรมหลักของ ประเทศ ตลอดจนเป็นผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุนกับเอกชนในการลงทุนใน โครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะโครงการไฟฟ้า พลังงานน้ำ (Hydropower Plant) และการก่อสร้างถนน โดยมีการเปิด บริษัทเอกชนที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นเพื่อรองรับการลงทุนร่วมกับ เอกชนและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บ ภาษีที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รายได้จากการเก็บภาษีคิดเป็นร้อยละ 0.3 ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่รายได้จากภาษีธุรกิจคิดเป็นร้อยละ 3 รายได้ ส่วนใหญ่มาจากการขายไฟฟ้าพลังงานน้ำให้ประเทศเพื่อนบ้าน  

การแบ่งเขตปกครอง เขตบริหารแบ่งย่อยเป็น มณฑล (Dzongkhag) รวมทั้งหมด 20 มณฑล ดังต่อไปนี้         - มณฑลบุมทัง (Bumthang Dzongkhag) - มณฑลชูคา (Chukha Dzongkhag) - มณฑลดากานา (Dagana Dzongkhag) - มณฑลกาซา (Gasa Dzongkhag) - มณฑลฮา (Haa Dzongkhag) - มณฑลฮุนต์ซี (Lhuentse Dzongkhag) - มณฑลมองกา (Mongar Dzongkhag) - มณฑลพาโร (Paro Dzongkhag)                        - มณฑลเปมากัตเซล (Pemagatshel Dzongkhag) - มณฑลพูนาคา (Punakha Dzongkhag) - มณฑลซัมดรุปจุงคาร์ (Samdrup Jongkhar Dzongkhag) - มณฑลซัมซิ (Samtse Dzongkhag) - มณฑลซาร์ปัง (Sarpang Dzongkhag) - มณฑลทิมพู (Thimphu Dzongkhag) - มณฑลทราชิกัง (Trashigang Dzongkhag) - มณฑลทราชิยังต์ซิ (Trashiyangtse Dzongkhag) - มณฑลตงซา (Trongsa Dzongkhag)          - มณฑลซิรัง (Tsirang Dzongkhag) - มณฑลวังดีโพดรัง (Wangdue Phodrang Dzongkhag)                    - มณฑลเซมกัง (Zhemgang Dzongkhag)        

เมืองหลวง ทิมพู (Thimphu) 

เมืองสำคัญ เมืองพาโร (Paro) เป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ 

              เมืองพูนาคา (Punaka) เป็นเมืองหลวงเก่า ปัจจุบันใช้เป็นพระราชวังฤดูหนาว  

ภาษาราชการ ร้อยละ 24 ใช้ภาษาซงข่า (Dzongkha) 

วันชาติ 17 ธันวาคม (วันคล้ายวันสถาปนาสมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรก)  

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532     

เอกอัครราชทูตไทยประจำภูฏานถิ่นพำนัก ณ กรุงธากา นางสาวมธุรพจนา อิทธะรงค์    

เอกอัครราชทูตภูฏานประจำประเทศไทย  Tshering Dorji 


เศรษฐกิจ

     ภูฏานได้ชื่อว่าเป็นประเทศยากจนที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านการเงินจากองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ฯลฯ นอกจากนี้ภูฏานยังได้รับความช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและวิชาการจากประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น และ ประเทศยุโรปตะวันตกมาตลอดเวลา ชาวภูฏานมีรายได้ต่ำถึงต่ำมาก ร้อยละ 90 ของประชากร ภูฏานมีอาชีพทำการเกษตรและป่าไม้ การเกษตรประกอบด้วยการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ในหุบเขา ภาวะเศรษฐกิจของภูฏานขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรและป่าไม้ โดยมีสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ส้ม แอปเปิล ธัญพืช และผลิตภัณฑ์จากนม ภาคอุตสาหกรรมของภูฏานมีขนาดเล็กมาก  และมีเทคโนโลยีที่ค่อนข้างล้าสมัย ผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าหัตถกรรมในชนบท 

อุตสาหกรรมที่สำคัญของภูฏาน ได้แก่ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลไม้แปรรูป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และแควเซียมคาร์ไบด์ อย่างไรก็ดีภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการของภูฏานมีการเติบโตมากขึ้นกว่าภาคการเกษตร 

การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคต่างๆในประเทศแทบทั้งหมดต้องอาศัยแรงงานที่อพยพมาจากอินเดีย แม้ภูฏานจะเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมั่นคง มีฐานะดุลการชำระเงินดี แต่ภูฏานยังต้องพึ่งพิงเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นจำนวนมหาศาล (ประมาณร้อยละ 33 ของ GDP) ภูฏานกำลังอยู่ในระหว่างการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ แต่ดำเนินการอย่างช้าๆด้วยความช่วยเหลือจากธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และผู้ให้ความช่วยเหลือจากประเทศตะวันตกและญี่ปุ่น เศรษฐกิจของภูฏานยังคงมีความผูกพันกับอินเดีย ซึ่งเป็นเงินช่วยเหลือทั้งแบบให้เปล่าและเงินกู้แก่ภูฏานอยู่มาก

สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันทรงมีนโยบายมองออกไปข้างนอก (Outward-looking Policy) รัฐบาลภูฏานกำลังเริ่มต้นดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไปสู่ภาคเอกชน (Privatization) ส่งเสิรมการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน ขณะนี้รัฐบาลของภูฏานกำลังเสนอพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงทุนต่อสภานิติบัญญัติ ซึ่งเมื่อผ่านสภาแล้วจะทำให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับการเข้ามาลงทุนในภูฏาน ของนักธุรกิจชาวต่างชาติมากขึ้น ภูฏานต้องการจะพัฒนาประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำงานสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของประเทศ ในทางปฏิบัติจึงไม่ต้องการการลงทุนจากต่างประเทศมากจนเกินไปพลังงานไฟฟ้าเป็นหัวใจเศรษฐกิจของภูฏานด้วยการส่งออกกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำไปยังอินเดียซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญ ภูฏานมีการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานน้ำ เพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก ในอนาคตอันใกล้ คาดว่าภูฏานจะมีรายได้เข้าประเทศมากขึ้นจากการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำให้กับอินเดีย โดยเขื่อนสำคัญ 3 แห่ง ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างภายใต้แผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 8 ของประเทศ ได้แก่ เขื่อน Kurichhu,Bashochhu และ  Tala ซึ่งจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้ารวมกันได้เป็นปริมาณถึง 1,125.8 เมกกะวัตต์

สินค้าออกที่สำคัญของภูฏานคือ ไฟฟ้าจากพลังน้ำ ยิปซั่ม ไม้ซุง สินค้าหัตถกรรม ซีเมนต์ ผลไม้ อัญมณี เครื่องเทศ (ลูกกระบวน) และน้ำมันตะไคร้หอม 

ประเทศคู่ค้าสำคัญในการนำเข้าคือ เยอรมนี (41.8%) อินเดีย (35.5%) ญี่ปุ่น (9.2%) และออสเตรเลีย (4.4%)

ในด้านความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทยนั้น เนื่องจากภูฏานตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาหิมาลัยทางตะวันออกกับที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาแลไม่มีทางออกทะเล ต้องอาศัยการขนส่งสินค้าเข้าออกผ่านประเทศอินเดียและทิเบต (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและใช้เวลาในการขนส่งสินค้ามาก สินค้าที่ส่งจากอินเดียและทิเบตจะได้เปรียบสินค้าจากแหล่งอื่น เนื่องจากขนส่งสะดวกมากกว่า ทั้งยังมีลักษณะ รูปแบบและวัฒนธรรมในการบริโภคสินค้าคล้ายคลึงกับประชาชนของชาวภูฏาน ตลาดภูฏานมีอำนาจซื้อค่อนข้างต่ำ และขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ผู้ส่งออกไทยไม่ค่อยสนใจตลาดนี้มากนัก

สินค้าของไทยส่งออกไปยังภูฏาน ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูปเตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน ข้าว รถยนต์  อุปกรณ์และส่วนประกอบ และยานพาหนะอื่นๆ เป็นต้น สินค้าที่ไทยนำเข้าจากภูฏาน ได้แก่ ผัก ผลไม้ ของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้ และผลิตภัณฑ์อาหาร 

สกุลเงินของภูฏาน งุลตรัม (BTN) ซึ่งผูกค่าเงินเป็นอัตราคงที่กับรูปีอินเดีย ซึ่งประมาณ 40 รูปี ต่อ 1 USD และเงินรูปียังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย


https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/05/10_Ngultrum_Vorderseite.jpg/200px-10_Ngultrum_Vorderseite.jpg

แม้ว่าภูฏานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 8 ในปี 2005 และร้อยละ 14 ในปี 2006) ในปี 2007 ภูฏานเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงเป็นอันดับสองของโลกโดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 22.4 ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มใช้เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าทาลา

รายได้หลักของประเทศ มากกว่าร้อยละ 33 ของจีดีพี มาจากการเกษตร และประชากรกว่าร้อยละ 70 มีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตรด้วย สินค้าส่งออกสำคัญคือไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ซึ่งส่งออกไปยังอินเดีย

เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ)


ประชากร

จำนวนประชากร 752,700 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2547) เป็นชาย 380,090 คน และหญิง 372,610 คน

อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 2.14 (เมื่อปี พ.ศ. 2546)

เชื้อชาติ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่

  • ชาร์คอป (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก

  • งาลอบ (Ngalops) ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก

  • โลซาม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้

กลุ่มประชากรของภูฏาน แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ คือ

  • กลุ่มดรุกปา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

 กลุ่มเชื้อสายธิเบต

 กลุ่มซังลา ที่ถือว่ามีจำนวนมากที่สุด เนื่องจากจะแยกออกตามภาษาท้องถิ่นที่ใช้ที่มีประมาณ 11 ภาษา กลุ่มนี้จะอาศัยทางทิศตะวันออกของประเทศ

  • กลุ่ม เนปาล คือส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แต่ปัจจุบันนี้ทางรัฐบาลของประเทศภูฏาน ได้พยายามผลักดันให้ประชากรเหล่านี้กลับไปยังถิ่นฐานเดิมคือประเทศเนปาล

กลุ่มชนอื่น ๆ อีก 13% คือชาวธิเบต ชาวสิกขิม และชาวอินเดีย

เชื้อชาติภูฏาน


ศาสนา

ศาสนา ภูฏาน 

ประชาชนชาวภูฏานนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่า วัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และ ศาสนาคริสต์ 0.3% มีจำนวนพระสงฆ์ราว 6,000 องค์ ซึ่งรัฐถวายความอุปการะจัดหาสิ่งของจำเป็นพื้นฐานหรือปัจจัย 4 แต่พระสงฆ์สามารถที่จะหารายได้พิเศษจากการทำพิธีทางศาสนา ทั้งภายในวัดหรือไปตามกิจนิมนต์ที่บ้าน มีความเคร่งครัดไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา หากทว่าฉันมื้อเย็นได้ ซึ่งต่างจากพระในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสงฆ์อีกราว 3,000 องค์ ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีของรัฐ แต่มีเอกชนเป็นอุปัฏฐาก


ภาษา

ที่ประเทศภูฏานประชาชนส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ เพราะว่าทางรัฐบาลได้กำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สำคัญและได้กำหนดให้เนื้อหาที่เรียนส่วนหนึ่งต้องเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับคนไทยเดินทางไปภูฏานมั่นใจได้เลยว่า ถ้าคุณพูดภาษาอังกฤษได้ คุณเดินทางได้แน่นอน ไม่อย่างนั้นก็ควระเดินทางกับทัวร์ที่มาพร้อมกับหัวหน้าทัวร์

ภูฏานเป็นประเทศที่ร่ำรวยภาษา ที่มีภาษาพูดท้องถิ่นมากกว่า 19 ภาษา ความหลากหลายทางภาษานี้น่าจะเกิดจากลักษณะทางภูมิประเทศที่มีภูเขาและเหวลึกพาดผ่านมากมาย ด้วยภูมิประเทศอันเป็นลักษณ์นี้เอง ทำให้ชนพื้นเมืองในประเทศต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของการอยู่รอดของประชาชนอีกด้วย ภาษาประจำชาติของภูฏานคือ ซองคา (Dzongkha) ภาษาพื้นเมืองของงาลอบ (Ngalops) ที่อาศัยอยู่ทางใต้ของประเทศภูฏาน

ซองคา มีความหมายที่แท้จริงว่า ภาษาที่พูดใน ซอง (Dzongs) ป้อมปราการขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการและอารามของพระภิกษุ

นอกจากนี้ยังมีอีก 2 ภาษาสำคัญคือ ชางละคา (Tshanglakha) และโลธแชมคา (Lhotshamkha) ชางละคา เป็นภาษาพื้นเมืองของ แชงกลาส  (Tshanglas) อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกของภูฏาน ในขณะที่ โลทแชมคา (Lhotshamkha) ถูกใช้พูดกันโดยชาวภูฏานที่มีต้นตระกูลเป็นชาวเนปาล

ภาษาถิ่นอื่นๆ ที่ใช้พูดกัน เช่น เค็งคา (Khengkha) และ บุมทัพคา (Bumtapkha) โดยชาว เค็งพาส (Khengpas) และชาวบุมเเทพ (Bumthap) อาศัยอยู่ทางภาคกลางของภูฏาน ภาษาถิ่นมังเด็พคาห์ (Mangdepkah) ที่ซึ่งถูกใช้พูดกันโดยผู้ที่อาศัยอยู่ใน ทรองซา (Trongsa) และโช ชา งา ชัง คา (Cho Cha Nga Chang Kha) ภาษาที่ซึ่งใช้โดย เคอโทพ (Kurtoeps) เชอปาส  (Sherpas) เล็พชาส (Lepchas)         และ ทะมัง (Tamangs) ในภาคใต้ของภูฏานก็มีภาษาถิ่นเป็นของตนเองด้วยเช่นกัน น่าเสียดายที่               มงคา (Monkha) และ กงโดพคา (Gongduepkha) ใกล้จะไม่มีผู้ใช้พูดเหลืออยู่อีกแล้ว


ภาษา ภูฏาน

วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย

ชุดผู้ชายภูฏานเรียกว่า โกะ (Gho) หนึ่งในสิ่งที่โดดเด่นเป็นพิเศษของชาวภูฏานคือชุดประจำชาติของพวกเขา เครื่องแต่งกายนี้ได้ถูกพัฒนามายาวนานนับพันปี ผู้ชาย จะสวมใส่ โกะ (Gho) เสื้อคลุมยาวระดับเข่า ผูกด้วยผ้าคาดเอวคล้ายกิโมโนที่เรียกว่า คีร่า (Kera)  กระเป๋าที่อยู่ทางด้านหน้านั้น ในสมัยโบราณมักใช้ใส่ชามอาหารและกริชเล็กๆ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้กระเป๋ามักจะใช้ใส่ของเล็กๆ น้อยๆ ตามความเคยชิน เช่น กระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และโดมา (หมาก) 

ชุดผู้ชายภูฏาน

ชุดผู้หญิงภูฏานเรียกว่า คิร่า (Kira) ผู้หญิง จะสวมใส่คิร่า (Kira) เสื้อคลุมยาวถึงข้อเท้าควบคู่ไปกับเสื้อคลุมบางๆ ด้านนอก ที่รู้จักกันในชื่อ เทโก (Tego) และเสื้อด้านในที่รู้จักกันในชื่อ วอนจู (Wonju)

ชนเผ่าและกลุ่มพเนจรเหมือนเช่นชาว บรามิส (Bramis) และชาวโบรกพาส (Brokpas) ทางภาคตะวันออกของประเทศภูฏานนั้นจะสวมใส่เสื้อผ้าในรูปแบบที่แตกต่างจากประชากรชาวภูฏาน ชาวโบรกพาส (Brokpas) และชาว บรามิส (Bramis) ทั้งสองสวมใส่เสื้อผ้าที่ทอจากขนของวัวป่า (Yak) หรือขนแกะ

ชาวภูฏานจะต้องใช้ผ้าพาดบ่าเมื่อต้องไปซอง (Dzongs) และศูนย์กลางการบริหารการจัดการต่างๆ มีหลากหลายสี ซึ่งแต่ละสีจะแสดงถึงสถานภาพทางสังคมของคนคนนั้น ผ้าพาดบ่าที่ผู้ชายใช้นั้นจะถูกเรียกว่า แกบเน่ (Kabney) และที่ผู้หญิงใช้จะถูกเรียกว่า ราชู (Rachus) ราชูจะพันอยู่รอบไหล่ของผู้หญิง แตกต่างจากผ้าพาดบ่าที่ผู้ชายใช้ และไม่มีการแบ่งสถานภาพทางสังคมตามสีของมัน ราชูมักจะทอด้วยไหมดิบและเย็บด้วยลวดลายที่สวยงาม


ชุดผู้หญิงภูฏาน

ชุดกษัตริย์ภูฏาน

ชุดกษัตริย์ภูฏาน 

รูปพระราชินีและกษัตริย์ภูฏาน(ผ้าพาดบ่าสีเหลืองจะใช้ได้แค่กษัตริย์และพระสังฆราชเท่านั้น)

ทางด้านล่างจะเป็นการแบ่งแยกความแตกต่างของสีของผ้าพาดบ่าหรือแกบเน่กับสถานะทางสังคม


ตำแหน่ง

ผ้าพาดบ่า

กษัตริย์

สีเหลือง

เจเคนโป (พระสังฆราช)

สีเหลือง

รัฐมนตรี

สีส้ม

ผู้พิพากษา

สีเขียว

ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น

สีแดงขลิบขาว

บุคคลธรรมดา

สีขาว


วัฒนธรรมการไหว้

ประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ มักจะมีวัฒนธรรมการไหว้มาจากประเทศอินเดีย ชาวภูฏานจะไหว้อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ส่วนการไหว้พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นการกราบแบบ “อัษฎางคประดิษฐ์” ซึ่งเป็นการกราบโดยนอนราบให้อวัยวะส่วนสำคัญสัมผัสกับพื้นทั้ง 8 ส่วน ได้แก่ มือทั้งสอง เข่าทั้งสอง เท้าทั้งสอง ลำตัว และหน้าผาก จากนั้นลุกขึ้นมาใหม่โดยไม่ยกเท้าออกจากพื้น

การไหว้ | วัฒนธรรมภูฏาน


วัฒนธรรมความเชื่อ

ประเทศภูฏาน เป็นประเทศเดียวในโลกที่ยอมรับศาสนาพุทธตันตระ-วัชรยาน เป็นศาสนาประจำชาติ เชื่อเรื่องเวรกรรม การเวียนว่ายตายเกิด การบรรลุนิพพานเพื่อหลุดพ้นทุกข์และสังสารวัฏ นับถือเทพเจ้าและพระโพธิสัตว์ มีพิธีกรรมที่กระทำเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและชักนำสิ่งดีๆมาสู่ชีวิต สิ่งที่คุณจะได้เห็นอยู่ประจำเมื่อมาเที่ยวที่ประเทศนี้คือ “กงล้อมนตรา” การหมุนกงล้อมนตราเท่ากับการสวดมนต์หลายพันบทและหลายพันครั้ง ขณะที่หมุนจะท่องบทสวดมนต์ว่า “โอม มณี ปัทเม หุม” ภายในกงล้อมนตราที่มีลักษณะเป็นแท่งกลมๆ มีแกนกลางเพื่อให้หมุนได้ ภายในบรรจุม้วนกระดาษเขียนบทสวดมนต์เป็นพันบท คุณจะเห็นกงล้อนี้อยู่ตามบริเวณวัด ทางเดิน กลางหุบเขา หรือทางแม่น้ำลำธาร ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และขนาดพกพาที่มีก้านสำหรับให้ถือหมุน ตามหมู่บ้านบางแห่งจะทำกงล้อมนตราขนาดใหญ่บนทางน้ำไหลให้สายน้ำขับเคลื่อนให้กงล้อหมุน เชื่อกันว่าพลังแห่งมนตราจะกระจายไปทั่ว ช่วยปกป้องคุ้มครองคนในหมู่บ้าน


ความเชื่อ | วัฒนธรรมภูฏาน


วัฒนธรรมสถาบันพระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวภูฏานดั่งเช่นประเทศไทย เพิ่งมีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเมื่อสมัยรัชกาลองค์ปัจจุบัน สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก โดยมีกษัตริย์เป็นประมุข แต่เดิมนั้นภูฏานปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ชาวภูฏานให้ความเคารพรักกษัตริย์ของตนมาก พระองค์ทรงมีความเป็นกันเอง และใกล้ชิดพสกนิกร เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรโดยตลอด ไม่ว่าใกล้หรือไกล ไม่ว่าการเดินทางจะยากลำบากแค่ไหน ทรงเข้าถึงทุกพื้นที่ที่ห่างไกลหรือกันดาร

พระมหากษัตริย์ | วัฒนธรรมภูฏาน


สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศภูฏาน

วัดถ้ำเสือ (Taksang Monastery)

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วัดสถาปัตยกรรมทิเบตที่ตั้งอยู่ริมหน้าผาสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 3,120 เมตรในเมืองพาโร สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 8 ซึ่งครั้งหนึ่งบริเวณปากถ้ำเคยเป็นที่บำเพ็ญภาวนาของท่านกูรูรินโปเช ลามะชื่อดังผู้เข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธในประเทศภูฏาน

อาคารที่ทำการรัฐบาลทาชิโช ซอง (Tashichho Dzong)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาคารที่ทำการรัฐบาลทาชิโช ซอง (Tashichho Dzong)

อาคารที่ทำการรัฐบาลทาชิโช ซองในปัจจุบันเป็นทั้งวัด สถานที่ราชการ และสถานที่ทรงงานของกษัตริย์ภูฏาน ทาชิโช ซองสร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 12 ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงและสวนสวย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างกลุ่มอาคารแห่งนี้เป็นแบบภูฏานผสมผสานกับทิเบต



โดชูลา พาส (Dochula Pass)

4.โดชูลา-พาส-Dochula-Pass

โดชูลา พาส (Dochula Pass) เป็นเจดีย์ใหญ่ที่มีสถูปเล็กๆ ล้อมรอบถึง 108 สถูป ตั้งอยู่ระหว่างเมืองพูนาคาและเมืองทิมพู สร้างโดยพระนางอาชิ ดอร์จี วังโม วังชุก (Her Majesty Ashi Dorji Wangmo Wangchuk) หนึ่งในพระมเหสีของอดีตกษัตริย์จิกมี ซิกเย วังชุก นอกจากสถาปัตยกรรมที่สวยงามแล้วบริเวณโดชูลา พาสยังเป็นสถานที่ชมวิวเทือกเขาหิมาลัยที่สวยงามแห่งหนึ่งในภูฏานอีกด้วย

ป้อมปราการตรงซา ซอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ป้อมปราการตรงซา ซอง

ตรงซา ซอง (Trongsa Dzong) คือป้อมปราการที่ใหญ่ที่สุดของประเทศภูฏาน ตั้งอยู่ในเมืองตรงซา สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1648 บนแนวเขาที่สูงชันตามสถาปัตยกรรมและศิลปะแบบภูฏาน

 

บรรณานุกรม 

http://www.tripdeedee.com/traveldata/bhutan/bhutan02.php

Asian Development Bank. www.adb.org Bhutan Ministry of Economic Affairs.

http://www.moea.gov.bt/

https://www.gebpowtravel.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%8F%E0%B8%B2%E0%B8%99/

http://www.2by4travel.com/home/Data-travel/bhuta/khxmul-prathes-phutan

http://www.oceansmile.com/IndexBhutan.htm

https://www.neda.or.th/home/en/downloadfile.php?path=uploads/news/&file=29201584337-Ln37Mx9t.pdf

http://www.bhutancenter.com/nationality-religion/

https://travelblog.expedia.co.th/asia/bd04_january18/



คำถามเกี่ยวกับภูฏาน

  1. เมืองสำคัญของประเทศภูฏานคือเมืองอะไร ?

ตอบ     เมืองพาโร

  1. นายกรัฐมนตรีของประเทศภูฏานคือใคร ?

ตอบ  H.E. Lyonchhen Tshering Tobgay

  1. พระมหากษัตริย์ของประเทศภูฏานคือใคร ? 

ตอบ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก

  1. เมืองหลวงของประเทศภูฏานคือ ? 

ตอบ ทิมพู(Thimphu)

  1. สกุลเงินของประเทศภูฏานคืออะไร ? 

ตอบ งุลตรัม(BTN)

  1. วัฒนธรรมการแต่งกายของภูฏาน ชุดของผู้ชายและผู้หญิง มีชื่อเรียกว่าอะไร ? 

ตอบ โกะ - คิร่า

  1. ประชาชนชาวภูฏานนับถือศาสนาอะไร ? 

ตอบ ศาสนาพุทธ นิกานมหายาน

  1. สินค้าส่งของที่สำคัญของภูฏานคืออะไร ? 

ตอบ ไฟฟ้า,ยิปซั่ม,ไม้ซุง

  1. กลุ่มดรุกปา คือกลุ่มอะไร ? 

ตอบ กลุ่มเชื้อสายธิเบต อาศัยอยู่ทางตะวันออกของประเทศ

  1. ซงดูได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกในวันที่อะไร ? 

ตอบ 18 กรกฏาคม พ.ศ. 2551


บทความที่ได้รับความนิยม